กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านลุ่ม ลดพุง ห่างไกลโรค
รหัสโครงการ 63-L5287-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลท่าแพ
วันที่อนุมัติ 11 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 11,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภา บุนนาค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ มัสยิดหมู่ที่ 6 ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไขเนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพเศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจนโรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้า เป็นต้นและยังพบว่าการตายในผู้ที่อายุระหว่าง ๒๐-๗๔ ปี กว่าครึ่งหนึ่ง มีผลมาจากความอ้วนซึ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดยังเป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลกปีละ ๑๗ ล้านคน และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยคาดว่าในปีพ.ศ.๒๕๖๕ ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวประมาณ ๒๕ ล้านคน ซึ่งจะมีประชากรในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ประมาณ ๑๙ ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๖ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค เป็นภาระของครอบครัวและประเทศ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าร้อยละ ๒-๘ ของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นผลกระทบจากโรคอ้วนถ้าเป็นเช่นนี้ต่อไป ในอีก ๑๐ ปี ข้างหน้าค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยผู้หญิงมีความชุกมากกว่าผู้ชายปี ๒๕๕๒ ประชากรไทยเกือบ ๑ ใน ๓ เข้าข่ายภาวะนำ้หนักเกิน ส่วนอีก ๘.๕% เข้าข่ายโรคอ้วน ข้อมูลการสำรวจสุขภาพและพฤกติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วง ๒๐ ปี ที่ผ่านมา ในชาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง ๔ เท่า โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตรกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวเพศชายเกิน ๓๖ นิ้ว หรือ ๙๐ เซนติเมตร เพศหญิงเกิน ๓๒ นิ้ว หรือ ๘๐ เซนติเมตรซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ในการสำรวจสุขภาพประชากรไทยปีล่าสุด พ.ศ. ๒๕๔๗ พบว่าประชากรในประเทศไทยที่อายุมากกว่่า ๓๕ ปี มีเส้นรอบพุงเกินกำหนดประมาณ ๙.๓ ล้านคน โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คนที่มีรอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๕ เซนติเมตร จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่ม ๓-๕ เท่า จะเห็นได้ว่าเอวใหญ่ขึ้นเท่าไรก็ยิ่งเจ็บป่วยและตายเร็วขึ้นเท่านั้น ภาวะอ้วนลงพุงส่วนใหญ่จะเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค กรรมพันธ์ุ และไม่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมา เช่น โรคเบาหวาน โรตความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง   ดังนั้น กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัวและปฐมภูมิโรงพยาบาลท่าแพ จึงจัดทำโครงการลดพุง ลดโรค เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอ้วนลงพุงส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการลดน้ำหนัก และทำกิจกรรมร่วมกันส่งผลให้ประชาชนในหมู่ที่ ๖ บ้านลุ่ม สุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองและมะเร็ง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร
  • เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ร้อยละ 80
0.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย
  • เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น
  • เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
0.00
4 4. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพ่ิ่มขึ้น
  • กลุ่มเสี่ยงมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 11,475.00 0 0.00
12 ก.พ. 63 - 31 ส.ค. 63 1. ให้ความรู้เรื่องลดพุง ห่างไกลโรค 50 11,475.00 -
  1. จัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการ
  2. ประชาสัมพันธ์ทางสื่อรูปแบบตามความเหมาะสม
  3. ให้บริการตรวจวิเคราะห์สุขภาพ การให้บริการด้านสุขภาพ การให้คำปรึกษา การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การให้สุขศึกษารายบุคคล รายกลุ่มการจัดการบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการการเผยแพร่ความรู้ด้วยสื่อ การส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง มอบสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ผู้รับบริการ นัดและติดตามประเมินผล
  4. ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยอบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มเสี่ยง
  5. ส่งต่อผู้รับบริการในรายที่มีปัญหาไปยังโรงพยาบาลตามขั้นตอนตามระบบการส่งต่อ เพื่อดูแลรักษา และให้คำปรึกษาที่เหมาะสม
  6. ประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ
  7. รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานปัญหาและอุปสรรค
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการออกกำลังกายที่ถูกต้อง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย ๓-๕ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีค่าดรรชนีมวลกาย และรอบเอวลดลง
  4. เกิดภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 14:07 น.