กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการฯ
รหัสโครงการ 60-50094-4-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน
วันที่อนุมัติ 26 ธันวาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2560
งบประมาณ 54,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววณิตา มาลินี
พี่เลี้ยงโครงการ นางธิดา เหมือนพะวงศ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.814,100.06place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 26 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินงานหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่เพื่อให้การบริหารจัดการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดความคล่องตัวและมีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน

การบริหารจัดการกองทุนพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนฯ และพัฒนาระบบบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญต่อความสำเร็จของการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพราะคณะกรรมการเป็นบุคคลสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และภาคประชาชน ที่จะทำให้เกิดการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนและเรียนรู้ร่วมกัน พัฒนาการดำเนินงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมและความต้องการประชาชนในพื้นที่ดังนั้นคณะกรรมการจึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาความรู้ความเข้าใจร่วมกันบริหารจัดการกองทุนฯ ดังนั้นสำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน จะจัดประชุมและพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดนพร้อมทั้งเข้าร่วมการจัดอบรม ประชุมและสัมมนาตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลากำหนดการจัดประชุมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

 

2 2. เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนฯดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน

 

3 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและสรุปรายงานผลการดำเนินการตามโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ

 

4 4. เพื่อให้คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

3.1 กิจกรรมการจัดประชุมคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนฯคณะทำงาน 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน
- กำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน - จัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดประชุมคณะกรรมการและที่ปรึกษา อย่างน้อย4ครั้ง/ปี - จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย4 ครั้ง/ปี - สรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน 3.2 กิจกรรมการให้ความรู้พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการ/อนุกรรมการกองทุนฯ และคณะทำงาน 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ - กำหนดวันดำเนินการจำนวน 1 ครั้ง/ปี - จัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน เพื่อกำหนดนัดหมาย
- จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน สถานที่ในการประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. ดำเนินการจัดประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
- จัดอบรมให้ความรู้คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงาน - จัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพ

6.3 กิจกรรมการบริหารจัดการในสำนักงานกองทุนฯ(จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดรายการวัสดุ และครุภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ - กำหนดคุณสมบัติของวัสดุ และครุภัณฑ์ที่จะดำเนินการจัดหา - ดำเนินการสืบราคาวัสดุ และครุภัณฑ์ตามรายการ เบื้องต้น
2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
4. จัดทำบัญชีวัสดุและลงทะเบียนครุภัณฑ์เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในกิจการของกองทุนฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คณะกรรมการและอนุกรรมการกองทุนฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างน้อย ไตรมาสละ 1 ครั้ง
  2. การรับเงิน การจ่ายเงินการเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
  3. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
  4. คณะกรรมการได้รับการพัฒนาสม่ำเสมอเพื่อเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพในการทำงาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2560 15:28 น.