กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าประจำปีงบประมาณ2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่4บ้านเกาะเนียง
วันที่อนุมัติ 25 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 เมษายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพิศ ม่วงมูล,นางรัมภา หนูสวัสดิ์,นางสุคน ปราบจิตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนโพธิ์ อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.769,100.018place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่มีอันตรายร้ายแรง เมื่อเป็นโรคแล้วไม่สามารถที่จะรักษาให้หายได้ผู้ป่วยที่เป็นโรคจะต้องตายทุกคนซึ่งโรคนี้จะมีพาหะที่นำโรคคือสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัขแมว หนู เป็นต้น เมื่อคนไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรคหรือถูกน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรคก็จะทำให้เชื้อโรคนั้นแพร่ติดต่อมาสู่คนได้และสัตว์ที่เป็นโรคก็ยังสามารถที่ติดต่อเชื้อโรคไปยังสัตว์ปกติที่ไม่เป็นโรคได้โรคพิษสุนัขบ้ามักจะพบในช่วงฤดูร้อน คือ ตั้งแต่เดือน มี.ค. – มิ.ย. ของทุกปีโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถควบคุมป้องกันได้แต่ไม่สามารถรักษาได้เมื่อมีอาการของโรค การป้องกันที่ดี คือ การระวังไม่ให้ถูกสัตว์กัด หรือถูกน้ำลายของสัตว์ รวมทั้งการพาสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ถ้าถูกสัตว์กัดต้องรีบทำความสะอาดบาดแผลและไปพบแพทย์เพื่อทำการฉีดวัคซีนทันที
ปีงบประมาณ 2559 ตำบลควนโพธิ์มีประชาชนถูกสุนัขไม่มีเจ้าของกัด จากผลชันสูตรโรคสุนัขมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวสุนัขในชุมชนติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าหลายตัวส่งผลให้เกิดความไม่สบายใจของประชาชนในชุมชน ดังนั้นการดำเนินงานรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจึงเป็นกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นให้ประชาชนที่มี สุนัขแมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่มีอยู่ในความดูแลหันมาตระหนักถึงปัญหาของโรคดังกล่าว ด้วยการที่มีความรู้ที่ถูกต้องและมารับบริการการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสัตว์เลี้ยงของตนจากการออกบริการของเจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์ซึ่งจะมีผลทำให้ลดอัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนที่รัก สุนัขแมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลดความเสี่ยงของการถูก สุนัขแมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่สงสัยหรือเป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดและป้องกันไม่ให้มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้และมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

1.ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ80

2 2. เพื่อป้องกันควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นในชุมชน

สถิติรายงานการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าจากหน่วยงานปศุสัตว์เป็นศูนย์

3 3.ประชาชนมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้าที่ นำโดยสุนัขแมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สถิติรายงานการเข้ารับการรักษาด้วยการโดนสัตว์เป็นโรคพิษสุนัขบ้าทำร้ายจากหน่วยงานสาธารณสุขเป็นศูนย์

4 4. เพื่อสร้างความตื่นตัวและกระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการนำสุนัขแมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในความดูแลไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

จำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 100เปอร์เซ็นและประประชาชนในชุมชนนำสัตว์เลี้ยงเข้าร่วมรณรงค์ฉีดวัคซีน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ
  2. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปศุสัตว์อำเภอ เพื่อขอรับการแนะนำสนับสนุนเจ้าหน้าที่ร่วมดำเนินการตามโครงการ
  3. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทราบและวางแผนการดำเนินงาน
  4. สำรวจสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของในชุมชนทั้งตำบลควนโพธิ์เพื่อทำประวัติสัตว์เลี้ยง
  5. จัดอบรมแกนนำประชาชนในชุมชนตำบลควนโพธิ์ จำนวน 100 คน ได้รับความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 6.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นทราบและนำสุนัข แมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เข้า ร่วมโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ในชุมชน 7.ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ80 2. สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าขึ้นในชุมชนขึ้นได้ตลอดปีงบประมาณ 3. สุนัขแมว และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างครอบคลุมทั้งพื้นที่ 4. ประชาชนมีความตื่นตัวและกระตุ้นให้มีส่วนร่วมและเห็นความสำคัญในการนำสุนัขแมวและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในความดูแลไปรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2560 09:44 น.