กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63 - L4128 - 1 - 01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อน้ำร้อน
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 20,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาซีเย๊าะ การี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อน้ำร้อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 44 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน แต่ยังคงพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลตาเนาะแมเราะ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องและอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 628 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 2826 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย อัตราป่วย 0.05 ต่อประชากรแสนคน โดยสามารถพบการระบาด และพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปี การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน  มีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนของโรงเรียน และชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัจจุบันในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อน้ำร้อน พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ และเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อน้ำร้อน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้า และทันท่วงทีที่เกิดโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน ศาสนสถาน

 

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

 

0.00
5 เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อจัดทำโครงการฯ ๒. จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และป้องกันโรคไข้เลือดออก
๓. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๕. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และภาคีเครือข่าย
๗. ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ๘. รณรงค์ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนร่วมกับโรงเรียน แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน และโรงเรียน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในภาชนะกักเก็บน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเรื่องการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ฯลฯ ๙. ติดตามและประเมินความพึงพอใจการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๗๙ ต่อแสนประชากร ๒. ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 14:28 น.