กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยตำบลลิดล ปี 2563
รหัสโครงการ 63-L4142-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลิดล
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 30,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสปีน๊ะ มะเร๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายประพันธ์ สีสุข
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิดล อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.551,101.166place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (30,250.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนทุกคน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาและคนในครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกต้องวิธี และพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมทำให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดลได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลลิดล ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 ทำให้เด็กปฐมวัยในพื้นที่ตำบลลิดล มีสุขภาพช่องปากดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตราการปราศจากฟันผุร้อยละ 26.76 ในปี 2558 เพิ่มเป็นร้อยละ 41.52 ในปี 2562 เพื่อให้การกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย มีความต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิดลจึงได้จึงโครงการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ปี 2563ขึ้น โดยมีกิจกรรมหลักการคือการ ฝึกผู้ปกครองให้มีทักษะและความมั่นใจในการแปรงแห้งในเด็กปฐมวัย ร่วมกับการส่เสริมความรู้ในการบริโภคอาหาร และการให้บริการบูรณะฟันน้ำนมผุ จะสามารถบรรเทาปัญหาฟันผุในเด็กปฐมวัย ได้อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กปฐมวัย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีทักษะในการทำความสะอาดช่องปากให้ลูก

เด็กอายุ 9 เดือน-1 ปีครึ่ง ที่เข้าร่วมโครงการปราศจากฟันผุ อย่างน้อยร้อยละ 65 เด็กอายุ2-5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการอุดฟันแบบsmart อย่างน้อยร้อยละ 80 ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยแปรงฟันลูก โดยใช้วิธีการแปรงฟันแบบแห้ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 30,250.00 0 0.00
2 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 โครงการเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ปี 2563 100 30,250.00 -

1.ตรวจช่องปากประเมินสภาวะทันตสุขภาพเด็ก โดเยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2.แต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยครูในรร. และศพด อสม และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 25 คน 3.จัดประชุมคณะทำงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 1 เพื่อคืนข้อมูลสภาวะทันตสุขภาพและความเสี่ยงต่อโรคฟันผุของปฐมวัย และจะทำแผนการดำเนินงาน พร้อมแบ่งบทบาทหน้าที่และความรับชอบ 4.อบรมเชิงปฏิบัติการแปรงฟันแบบแห้งแก่ผู้ปกครองเด็กอายุ 9 เดือน-1ปีครึ่งจำนวน 50 คนโดยแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 25 คน 5.ให้บริการอุดฟันแบบsmsrt แก่เด็กอายุ 2-5 ปี โดยนัดที่มัสยิดประจำหมู่บ้าน 6.คณะทำงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยำเนินการสำรวจพฤติกรรมการแปรงฟันแบบแห้งเดือนละ 1 ครั้ง 7.จัดประชุมคณะทำงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัยครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงาน 8.ประเมินสภาวะทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย หลังเข้าร่วมกิจกรรม 9.จัดประกวดหนูน้อยฟันดีในกลุ่มเด็กอายุครบ 3 และ 5 ปี 10.จัดประชุมคณะทำงานเฝ้าระวังทันตสุขภาพเด็กปฐมวัย ครั้งที่ 3 เพื่อประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน 11.จัดทำแบบสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ตำบลลิดลมีรูปแบบการเฝ้าระวังทัตนสุขภาพโดยชุมชนมีส่วนร่วม และเด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2563 14:48 น.