กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครอบครัวสดใส ใส่ใจวัยรุ่น ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5184-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลจะนะ
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 31,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณทนา ศรีจันบาล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.901,100.742place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงบทางพัฒนาการต่างๆหลายๆด้านพร้อมกันๆกัน ทำให้เกิดปัญหาในการปรับตัวค่อนข้างสูง วัยรุ่นที่สามารถปรับตัวได้ดีก็จะผ่านช่วงวัยนี้ไปได้สำเร็จ ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายเกิดจากฮอร์โมนไปกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกทางเพศที่ชัดเจนขึ้น วัยรุ่นชายหญิงมีความสนใจในเพศตรงข้ามมากขึ้น และพร้อมเข้าสู่วัยรุ่นเจริญ พัฒนาการทางด้านจิตใจ วัยรุ่นมีความเป็นตัวตนสูง แสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นวัยที่อยากรู้อยากลอง อยากรู้อยากเห็น รักความเป็นอิสระ ทำให้วัยรุ่นสนใจและอยากรู้ อยากลองเรื่องเพศ เกิดการมีเพซสัมพันธ์ในวัยรุ่นทำให้เกิดปัญญาการตั้งครรภ์และการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ตามมา ด้วยสาเหตุนี้จึงทำให้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในจังหวัดสงขลาจากสถิติ (HDC จังหวัดสงขลา) มีวัยรุ่นตั้งครรภ์ย้อนหลังใน 3 ปี 2560 - 2562 มีจำนวน 1103,973 และ714 คน สถิติการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอำเภอจะนะย้อนหลัง 3 ปี 2560 -2562 จำนวน 102,105 และ77 คน ซึ่งการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นเกิดปัญหาต่อตัววัยรุ่นเอง ทั้งการดูแลทารกในครรภ์ การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ ปัญหาการเรียน ปัญหาครอบครัว ครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่สร้างภูมิคุ้มกันและให้ความรู้เรื่องเพศแก่วัยรุ่น แต่สังคมไทยไม่เปิดรับการพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัว ทำให้วัยรุ่นขาดที่ปรึกษาในทางที่ผิดจากเพื่อน หรือสื่อต่างๆทำให้ปัญหายิ่งบานปลาย เช่น การทำแท้ง การตั้งครรภ์ปกปิด การหนีออกจากบ้าน และอื่นๆ ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคมที่สำคัญในการดูแลวัยรุ่นให้พัฒนา เติบโตขึ้นมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ แต่ด้วยสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงเรื่องเพศได้ง่ายขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงลักษณะครอบครัว จากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น ส่งผลให้การดูแลลูกวัยรุ่นสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเผชิญความยุ่งยากมากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองจึงต้องพัฒนาเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวโดยต้องมีความเข้าใจตนเอง มีทักษะในการจัดการอารมณ์และความเครียดของตนเอง รวมทั้งต้องมีทักษะในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกวัยรุ่นเพื่อประคับประคองลูกวัยรุ้นสู่ลูกวัยผู้ใหญ่ได้อย่างเหมาะสม และกล้าให้วัยรุ่นกล้าพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัวมากยิ่งขึ้น เพื่อลดปัญหาทางเพศของวัยรุ่นให้น้อยลง และวัยรุ่นมีทางออกจากปัญหาดังกล่าวได้ถูกต้อง ปลอดภัย มากยิ่งขึ้น กลุึ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงกาารนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและเข้าใจพัฒนาการของวัยรุ่น

พ่อแม่/ผู้ปกครองที่มีบุตรวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลบุตรหลานวัยรุ่นได้อย่าง ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 2.เพื่อลดปัญหาการตั้งวครรภ์ในวัยรุ่น

จำนวนวัยรุ่นตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ 5

0.00
3 3.เพื่อลดปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่น

ปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่นลดลง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและเข้าใจพัฒนาการของวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อลดปัญหาการตั้งวครรภ์ในวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อลดปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่น

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 ม.ค. 63 สำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 10 - 19 ปี ในพื้นที่เทศบาลบ้านนา 0.00 0.00 -
25 ก.พ. 63 กิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่-ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการสื่อสารเชิงบวก 40.00 30,700.00 -
25 ก.พ. 63 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตัวแทนพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 10 -19 ปี 30.00 750.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยเทสบาลตำบลบ้านนา ผู้นำชุมชน แกนนำ อสม.ผู้มีจิตอาสา และอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยเสนอสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวับรุ่นและระดมความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหารวมทั้งกำหนดรูปแบบในการจัดกิจจกรรม 2. จัดตั้งคณะทำงาน 3. สำรวจข้อมูลวัยรุ่นพร้อมจัดทำทะเบียน 4. เขียนโครงการนำเสนอขออนุมัติ 5. เตรียมวัสดุ อุปกรณื เอกสาร สถานที่และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 6. ประสานงานกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. ประชาสัมพันธ์โครงการหากลุ่มเป้าหมายพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกอายุ 10 - 19 และแกนนำอสม.60 คน 8. ประชุมชี้แจงคณะทำงานเ้พื่อซักซ้อมทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆก่อนการดำเนินงาน ขั้นดำเนินการ 1. จัดอบรมครอบครัวที่มีลูกวัยรุ่นอย่าง 10 - 19 ปี เสริมสร้างคุณภาพชีวิต พัฒนาศักยภาพและให้ความรู้ด้านเพศศึกษา การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นทเพือ่เฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ๋์ไม่พร้อมในวัยเรียน 2. จัดกิจกรรมตามวัตถประสงค์ โดยแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมให้ความรู้เรื่องวัยรุ่น กิจกรรมเข้าถึงวัยรุ่น และกิจกรรมเสริมทักษะการสื่อสาร 3. ติดตามผลลัพธ์หลังจัดกิจกรรม โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1. อบรมกิจกรรมเปิดห้องเรียนพ่อแม่-ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการสื่อสารเชิงบวก - (A) "นำเข้าสู่ห้องเรียนพ่อแม่ แนะนำตัวชี้แจงวัตถุประสงค์สร้างความคุ้นเคย" - แนะนำตัวผ่านภาพ - เส้นชีวิต ย้อนรอยวัยรุ่น - เราทำแบบนี้กับลูกบ่อไหม - ฝึกฟังอย่างตั้งใจ - (B) สะท้อนการเรียนรู้ และความตั้งใจ 2. จัดเวทีีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตัวแทนพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรอายุ 10 - 19 ปี - เลือกตัวแทนพ่อแม่/ผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมจำนวน 30 คน - พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนหลังจากผ่านกิจกรรมแล้ว - ตอบแบบสอบถาม - สรุปผลการอบรม 3. ประเมินระดับความพึงพอใจ 4. ติดตามเยี่ยมครอบครัววัยรุ่นหลังอบรม 3 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น
  2. ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นสามารถพูดคุยความเสี่ยงเรื่องเพศกับวัยรุ่นได้
  3. ลดปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่นได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2563 13:50 น.