กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านควนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรค หมู่ที่ 1-4-6
รหัสโครงการ 63 – L1500 -2-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปัญจะ ธนะเศวตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 32,000.00
รวมงบประมาณ 32,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการกำจัดขยะที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลา และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้ แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาวิธีการกำจัด ปัญหาขยะนับเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบัน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ขยะเป็นต้นเหตุสำคัญในการก่อให้เกิดโรค เพราะขยะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของเชื้อโรค ซึ่งโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย ได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร ,โรคจากสัตว์/แมลง เช่น โรคไข้เลือดออก , โรคจากการติดเชื้อ ,โรคภูมิแพ้ ,โรคปวดศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียนจากกลิ่นเน่า ,โรคมะเร็งอันเนื่องจากการได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่างๆ ภายในร่างกาย

ประเภทขยะสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ขยะอินทรีย์ พบร้อยละ 64, ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 30, ขยะอันตราย ร้อยละ 3 และขยะทั่วไป ร้อยละ 3 จะเห็นได้ว่าขยะอินทรีย์มีปริมาณที่เยอะมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะที่เหลือใช้จากครัวเรือน เช่น จากเศษผัก เศษผลไม้ เศษอาหาร ถ้าไม่มีการกำจัดอย่างถูกวิธีก็จะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค/พาหะนำโรคได้
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ประกอบกับแผนรณรงค์ “แยกก่อนทิ้ง” และการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะในเปียกครัวเรือนโดยการทำถังขยะหลุมเป็น ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงมหาดไทย กลุ่มบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลบ้านควน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “บ้านควนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรค
หมู่ที่ 1-4-6” ขึ้น เพื่อให้มีการคัดแยกขยะและการจัดการขยะที่ถูกวิธี ถูกสุขลักษณะเพื่อการป้องกันโรค โดยการสร้างความเข้าใจความตระหนักของประชาชนภายใต้ความร่วมมือของชุมชน นำไปสู่การป้องกันโรคภัยที่จะเกิดจากขยะ อีกทั้งเป็นการสร้างชุมชนให้มีความสะอาดเรียบร้อยเป็นชุมชนที่น่าอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อป้องกันโรคจากขยะมูลฝอย

ประชาชนไม่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากขยะมูลฝอย เช่น โรคไข้เลือดออก โรคท้องเสีย เป็นต้น

0.00
2 2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการมีการคัดแยกขยะ

0.00
3 3 เพื่อให้มีการคัดแยกขยะ

ร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

0.00
4 4 เพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์

มีแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ อย่างน้อย 1 แห่งต่อหมู่บ้าน

0.00
5 5 เพื่อให้มีจุดคัดแยกขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน

มีจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล อย่างน้อย 1 แห่งต่อหมู่บ้าน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 1.กิจกรรมรณรงค์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 32,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ก.ย. 63 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 1 วัน 0 32,000.00 -

ขั้นเตรียมการ           1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ         2. ชี้แจงโครงการแก่คณะกรรมการบริหารจัดการขยะในชุมชนทุกหมู่บ้าน
    ขั้นดำเนินการ         1. กิจกรรมรณรงค์     - ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ การคัดแยกขยะและการจัดการขยะในครัวเรือน         2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้           2.1 อบรมให้ความรู้ประเภทของขยะ และการจัดการขยะแต่ละประเภท           2.2 ให้ความรู้และสาธิตการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์     - อบรมให้ความรู้การทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์     - สาธิตการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพ     - ติดตามผลการทำถังหลุมและน้ำหมักชีวภาพ           3. จัดตั้งแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์โดยการทำถังหลุม, น้ำหมักชีวภาพ หมู่บ้านละ 3 จุด           4. จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ในชุมชนทุกวันศุกร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน       5. จัดตั้งจุดคัดแยกขยะรีไซเคิล จำนวน 3 จุด           6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจประเภทของขยะ และการจัดการขยะแต่ละประเภท           2. ปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนลดลง บ้านเรือนสะอาด น่าอยู่ ปลอดภัย ไร้โรค
  2. มีแหล่งเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยจากโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 11:20 น.