กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ "รู้ทัน และวิธีการป้องกันโรคมาลาเรีย" ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63 - L4128 - 1 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 เมษายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 14,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมัสลิน พลรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกม.18
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.853,101.099place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 5 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มาลาเรียหรือไข้จับสั่น เป็นโรคร้ายที่ทำลายทั้งชีวิต และส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจของมนุษย์ รวมทั้งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมาช้านานหลายศตวรรษ องค์การอนามัย โลกได้พยายามควบคุมกวาดล้างโรคมาลาเรียมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ แม้ว่าขณะนี้โรคมาลาเรียหายไปจากหลายประเทศในยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ก็ยังพบมากในเขตร้อน ปีหนึ่งๆ คนเป็นโรคนี้ประมาณ ๓๐๐ ล้านคน เสียชีวิตประมาณ ๑ - ๒ ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กในอาฟริกา นับว่ามาลาเรียทำลายชีวิตคนมากกว่าโรคใดๆทั้งสิ้น
สำหรับในประเทศไทย มาลาเรียเป็นปัญหาสาธารณสุขมาช้านาน รัฐบาลได้พยายามควบคุมกวาดล้างมาลาเรียมาตั้งแต่องค์การอนามัยโลกแนะนำโดยการกำจัดยุงก้นปล่องอันเป็นพาหะของโรค และรักษาให้ยาฆ่าเชื้อมาลาเรียแก่ผู้เป็นโรค โรคมาลาเรียได้ลดลง แต่ก็ยังไม่หมด ยังคงพบมากบริเวณชายแดนด้านตะวันออกติดกับ กัมพูชา และชายแดนด้านตะวันตกติดกับพม่า ในป่าเกือบทั่วประเทศไทยก็ยังมีไข้มาลาเรียอยู่ จังหวัดที่ยังมีโรค มาลาเรียมากได้แก่ ตราด ตาก จันทบุรี กาญจนบุรี ยะลา อุบลราชธานี แม่ฮ่องสอน ปราจีนบุรี เป็นต้น แม้ว่ามาลาเรียเป็นโรคที่รักษาได้ผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิต แต่มาลาเรียในประเทศไทยรักษายากกว่าที่อื่นๆ เพราะเชื้อมาลาเรียชนิดพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัมดื้อต่อยาต้านโรคมาลาเรียเกือบทุกชนิด ดังนั้นหากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ ถูกต้องรวดเร็ว จะทำให้การรักษาได้ผลดี
พื้นที่ของอำเภอเบตง เป็นพื้นที่เขา มีป่า และสวนยางอุดมสมบูรณ์ พื้นที่คงความเป็นธรรมชาติมากจึงเหมาะ และเอื้อต่อการเกิดโรคโรคมาลาเรีย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาชีพทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ จึงเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคนี้ ซึ่งกลายเป็นโรคระบาดประจำถิ่นของอำเภอเบตง ตัวชี้วัดยุทธศาสตร์สาธารณสุข กำหนดอัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน ๓๐๐ : แสนประชากร ข้อมูลในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ตำบลตาเนาะแมเราะ มีจำนวนผู้ป่วย ๖๙ ราย คิดเป็น ๗๒๘.๗๗ ต่อแสนประชากร  ในปี พ.ศ ๒๕๕๘ มีจำนวนผู้ป่วย ๒๑ ราย คิดเป็น ๒๔๗.๒๓ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๕๙ จำนวนผู้ป่วย ๓ ราย คิดเป็น ๓๕.๓๑ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๐ จำนวนผู้ป่วย ๙ ราย คิดเป็น ๑๐๕.๙๕ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๑ จำนวนผู้ป่วย ๓ ราย คิดเป็น ๑๔๔.๙๒ และปี ๒๕๖๒ จำนวนผู้ป่วย ๒ ราย คิดเป็น ๑๐๑.๕๒ ต่อแสนประชากร (ข้อมูลจาก หน่วยควบคุมโรคนำโดยแมลงที่ ๑ เบตง ) จึงต้องทำการควบคุมโรคให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีส่วนร่วมกิจกรรมในการป้องกันควบคุมโรคโดยชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งการค้นหาผู้ป่วยพร้อมกับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน และแกนนำชุมชนความรู้ ทักษะในการป้องกันควบคุมโรคแก่ตนเอง และกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบ

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถสังเกตอาการเป็นโรคมาลาเรียได้ถูกต้อง

 

0.00
4 เพื่อควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรีย

 

0.00
5 เพื่อส่งเสริมบทบาท ให้ ผู้นำชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง สามารถค้นหา เฝ้าระวังโรค มาลาเรียในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้รวดเร็วทันทีทันใด

 

0.00
6 เพื่อให้ผู้นำชุมชน และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรมควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ผู้เกี่ยวข้อง และผู้นำชุมชนร่วมประชุมขออนุมัติเห็นชอบดำเนินโครงการ
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ 3.จัดการอบรมการบรรยาย และปฏิบัติในหัวข้อต่างๆเกี่ยวกับโรคมาลาเรีย
  3. สรุปกิจกรรมการอบรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 11:33 น.