กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายโนราห์บิค
รหัสโครงการ 63 – L1500 -2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมมโนราห์ตำบลบ้านควน
วันที่อนุมัติ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกิตติพงษ์ ขาวปาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 19,650.00
รวมงบประมาณ 19,650.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกายหลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมาเช่น ความดันโลหิตสูงเบาหวานโรคอ้วนโรคมะเร็งความเครียด ฯลฯ ทำให้ระบบสุขภาพของคนไทยต้องเน้นการ "สร้าง" มากกว่าการ "ซ่อม" สุขภาพ ซึ่งเป็นการเน้นระบบสุขภาพเชิงรุกและ การสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากประชาชนป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้เป็นส่วนใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา จึงได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนได้มาใส่ใจในการออกกกำลังกาย เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย 5 อ. เป็นหลักในการสร้างสุขภาพแก่ประชาชนประกอบด้วย การออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์และสุขภาพจิต อนามัยชุมชน และอโรคยา ซึ่งให้เริ่มจากการจัดกิจกรรมออกกำลังกายเป็นเรื่องแรกและบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆ ที่จำเป็นในการสร้างสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ให้ภาครัฐสนับสนุนองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของประชาชนที่จะร่วมใจแก้ปัญหาสุขภาพของตนเองและชุมชนโดยมีเป้าหมายส่งเสริมให้คนไทยอายุ ๖ ปีขึ้นไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการออกกำลังกายแบบต่างๆ เช่น การเดิน วิ่งการปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น
      การเต้นแอโรบิคเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งยังสามารถนำวัฒนธรรมพื้นบ้าน มาประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้โดยใช้มรดกทางวัฒนธรรมนั่นคือมโนราห์ ประยุกต์เป็นโนราห์บิค
กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมมโนราห์ตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำ โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายโนราห์บิค ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ผลทำให้ร่างกายแข็งแรง ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างความสามัคคี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อีกด้วย รวมถึงเป็นการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมประจำถิ่นให้คงอยู่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนได้ออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ

ประชาชนมีสุขภาพดี ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ/ไม่สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้เกิดการกระตุ้นให้ประชาชนการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

0.00
3 ส่งเสริมการใช้ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อออกกำลังกาย

มีการประยุกต์ใช้ท่ามโนราห์กับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ           1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ       2. ประชาสัมพันธ์โครงการ           3. จัดเตรียมสถานที่ในการออกกำลังกาย     ขั้นดำเนินการ           1. ชั่งน้ำหนักผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ เพื่อประเมินค่าดัชนีมวลกาย           2. อบรมให้ความรู้การออกกำลังกายโนราห์บิคแก่ผู้เข้ร่วมโครงการ           3. ดำเนินการตามโครงการโดยจัดให้มีการออกกำลังกายประกอบเพลงในรูปแบบโนราห์บิคเป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง จนครบ 20 ครั้ง           4. รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีการออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
  2. ผู้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและมากขึ้น
  3. เกิดการส่งเสริมการทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อออกกำลังกาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 11:58 น.