กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการแผงค้าอาหารสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมือง (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 2 - 21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจุดผ่อนผัน เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 26,452.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอุษนัย อูเมอร์ กลุ่มผู้ประกอบการแผงลอยจุดผ่อนผัน เทศบาลนครยะลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 46 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการขยายตัวของเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการพัฒนาหลายด้าน ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาด้านการสุขาภิบาลอาหาร ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากประชาชนมีวิถีชีวิตที่รีบเร่ง ไม่มีเวลาปรุงประกอบอาหารเองหรือไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพอาหารแต่ละมื้อว่าเจือปนด้วยสารอันตรายชนิดใดบ้าง โดยส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานอาหารที่อร่อย สะดวก รวดเร็ว ราคาไม่แพง และอิ่มท้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่นิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ อาหารทอด อาหารปิ้งย่าง อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว อาหารทานเล่น ซึ่งอาหารเหล่านี้ ผู้ขายนิยมใส่ผงชูรสในปริมาณสูง ซึ่งน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งสำหรับโรคภัยร้ายแรงที่จะเกิดตามมาจากการรับประทานอาหารโดยไม่รู้ถึงอันตรายที่มากับอาหาร
กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งเตือน เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีปริมาณผงชูรสมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพ้ผงชูรส ทำให้รู้สึกชาที่ปาก ลิ้น ปวดกล้ามเนื้อบริเวณโหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก หายใจไม่สะดวก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ส่วนผู้ที่แพ้มาก ๆ จะเกิดอาการชาบริเวณใบหน้า หู วิงเวียน หัวใจเต้นเร็ว จนอาจเป็นอัมพาตตามแขนขาชนิดชั่วคราวได้ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้ จะหายเองภายในเวลา 2 ชั่วโมง รวมถึงไม่มีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ไม่ควรกินผงชูรส เพราะอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ สำหรับทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน หากกินผงชูรสเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสมอง และหากได้รับเกลือโซเดียมมากเกินไปทำให้ไตเกิดการทำงานมากขึ้น จากวิถีการบริโภคอาหารดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง ดังเช่นในเขตเทศบาลนครยะลา มีประชากรเข้ามาอยู่อาศัยจำนวนมากขึ้น ความเจริญของเมืองทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในด้านการบริโภค จำเป็นต้องพึ่งพาอาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าเป็นหลัก ประกอบกับข้อมูลทะเบียนร้านจำหน่ายอาหารในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2562 พบว่า มีร้านจำหน่ายอาหารทั้งสิ้น จำนวน 778 ร้าน และแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 366 แผง ใน 11 จุดผ่อนผัน ซึ่งสะท้อนได้ว่าชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลาส่วนใหญ่บริโภคอาหารจากร้านค้าเป็นหลัก และหนึ่งในจุดผ่อนผันที่มีแผงลอยจำหน่ายอาหารมากที่สุด คือ จุดผ่อนผันสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา เป็นจุดที่ประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและวัยรุ่นนิยมไปรับประทาน เนื่องจากอยู่ในสวนสาธารณะและขายอาหารที่หลากหลาย มีจำนวนแผงขายอาหารมากถึง 46 แผง อาหารที่จำหน่ายประกอบด้วยแผงของทอด 10 แผง แผงปิ้งย่าง 8 แผง แผงอาหารตามสั่ง/อาหารจานเดียว เช่น ยำ ส้มตำ สุกี้ ฯลฯ 11 แผง แผงเครื่องดื่ม 10 แผง แผงผลไม้ 4 แผง และแผงขนม/ของหวาน 3 แผง โดยกลุ่มอาหารประเภทของทอด ปิ้งย่าง อาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว ซึ่งมักจะมีการเติมผงชูรสนั้น รวมจำนวน 29 แผง จากการสำรวจพบว่า มีการใช้ผงชูรสเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร คิดเป็นร้อยละ 100 อีกทั้งในบริเวณจำหน่ายอาหารดังกล่าว มีขยะประเภทขยะอินทรีย์และขยะทั่วไป ได้แก่ เศษอาหาร ไม้เสียบลูกชิ้น หลอด กล่องพลาสติก และถุงพลาสติกจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปริมาณขยะจำนวนมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่เป็นเศษอาหาร ซึ่งมีการทิ้งขยะที่ไม่ถูกสุขลักษณะจนทำให้บางจุดในสวนสาธารณะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงและพาหะนำโรค นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเกิดอันตรายจากไม้เสียบลูกชิ้นบาดหรือทิ่มได้ จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการค้าในจุดผ่อนผันแผงลอยจำหน่ายอาหารในสวนสาธารณะสนามโรงพิธีช้างเผือก เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดทำโครงการแผงค้าอาหารสนามช้างปลอดผงชูรสปลอดขยะเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมืองเพื่อนำร่องการเป็นต้นแบบในการส่งเสริมให้มีการลด ละ เลิกใช้ผงชูรสในการประกอบอาหารมีการเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารฟอกขาว สารกันรา สารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ ในแผงค้าดังกล่าว เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและมีการจัดการขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของคนเมืองยะลาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรสและการจัดการขยะแก่ผู้ประกอบการ
  1. ร้อยละ 100 ผู้ค้าในจุดผ่อนผันเข้าร่วมอบรมตามโครงการ
  2. ร้อยละ 80 แผงค้าที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้เรื่องการจำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพปลอดผงชูรส และการจัดการขยะ
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อสร้างจุดผ่อนผันแผงจำหน่ายอาหารต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรมเป็นแผงค้าต้นแบบปลอดผงชูรสและปลอดขยะ

0.00
3 ข้อ 3 เพื่อส่งเสริมให้ร้านค้ามีมาตรการสร้างแรงจูงใจแก่ผู้บริโภคในการลดขยะ โดยการนำภาชนะมาใส่อาหาร

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,452.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน และรับสมัครร้านค้าต้นแบบปลอดผงชูรส และสนับสนุนการคัดแยกและลดขยะ 0 480.00 -
??/??/???? ฝึกอบรมความรู้เรื่องผงชูรสเทคนิคการปรุงอาหารปลอดผงชูรส เมนูชูสุขภาพ และการจัดการขยะ 0 17,107.00 -
??/??/???? กิจกรรมตรวจประเมินร้านค้าปลอดผงชูรสและปลอดขยะ พร้อมเฝ้าระวังสารเคมีปนเปื้อนอาหาร 0 0.00 -
??/??/???? เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้คืนข้อมูล และประเมินผลสำเร็จ เพื่อเชิดชูร้านค้าต้นแบบ พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลปัญหา/อุปสรรค และกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 0 8,865.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการมีความรู้เเละตระหนักถึงความสำคัญในการจำหน่ายอาหารอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
    1. ผู้ประกอบการสามารถกำหนดกติกาข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
    2. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ทำให้ลดภาวะเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 14:48 น.