กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ประเภทที่ 2
รหัสโครงการ 62 – L7452 – 2 - 30
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 26,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนันท์นภัส ลาเต๊ะ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 113 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาพร่องทางโภชนาการในเด็กวัยเรียนเป็นปัญหาที่หลายคนมองข้าม ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินของแต่ละบุคคล ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่มีภาวะผอม เตี้ย เกิดจาการขาดสารอาหารเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ทำให้เกิดภูมิต้านทานต่ำและเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่าเด็กที่มีภาวะโภชนาการเหมาะสม ถูกต้อง ภาวะพร่องทางโภชนาการผอม เตี้ย จึงเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาและส่งผลต่อพัฒนาการตั้งแต่เริ่มแรกของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเรียนรู้ ภาวะโภชนาการจึงมีความสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการในวัยเด็ก ซึ่งข้อมูลในระดับประเทศพบว่า เด็กไทยมีภาวะพร่องทางโภชนาการผอม เตี้ย เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ได้สัดส่วนและปริมาณที่ไม่เหมาะสมตามวัย ตลอดจนค่านิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสภาพสังคม พฤติกรรม ตลอดจนความใส่ใจและความตระหนักของผู้ปกครองในการให้เด็กรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ
การดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการถือเป็นหน้าที่ของโรงเรียนที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 หมวด 1 บททั่วไปความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา ๖ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และ คุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้ได้อย่างมีความสุข ประกอบกับข้อมูลผลการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครยะลา จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กประถมศึกษา ชั้น 1-6 ของโรงเรียนเทศบาล 5 เทศบาลนครยะลา ปีงบประมาณ 2562 ซึ่งมีเด็กนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 953 คน พบว่า มีเด็กอ้วน จำนวน 29 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.0)เด็กผอม จำนวน 56 คน (คิดเป็นร้อยละ 5.9) เด็กเตี้ย จำนวน 57 คน (คิดเป็นร้อยละ 6.0) เด็กสูงดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน 594 คน (คิดเป็นร้อยละ 62.3) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โรงเรียนยังพบกับปัญหาภาวะโภชนาการเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผอมและเตี้ย ซึ่งภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายได้ จากข้อมูลและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า)เทศบาลนครยะลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเด็กผอมและเตี้ยดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ขึ้น เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ และมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก เพื่อทำให้เด็กมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้ และความสามารถของครู แม่ครัว นักเรียน และผู้ปกครองในการดูแลเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการผอมและเตี้ย
  1. ร้อยละ 80 ของเด็กนักเรียนและผู้ปกครองเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ (ผอม เตี้ย) เข้าร่วมการอบรม
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเพิ่มขึ้น
0.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการอาหารในโรงเรียนให้มีคุณภาพสามารถแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนให้มีรูปร่างดีสมส่วน

ร้อยละ 80 นักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถบริโภคตามหลักโภชนาการได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและครอบครัวในการปรับพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการของนักเรียน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,950.00 0 0.00
??/??/???? ประชุมคณะทำงานโครงการ 0 450.00 -
??/??/???? ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการและผลกระทบจากภาวะโภชนาการ จำนวนทั้งสิ้น 283 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม 0 20,665.00 -
??/??/???? จัดกิจกรรมทางกายให้เด็กนักเรียน 0 0.00 -
??/??/???? ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลผู้ปกครอง พร้อมเชิดชูครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ 0 5,835.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนมีคณะทำงานที่มีความรู้ความเข้าใจเเละสามารถดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เเละตระหนักเรื่องภาวะโภชนาการ โดยหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร จนส่งผลให้ภาวะทุพโภชนาการเด็กลดลง
    1. โรงเรียนมีข้อมูลปัญหา อุปสรรคเชิงลึกของเด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการจากครูประจำชั้น เเละผลสำเร็จจากการทำโครงการ นำมาแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กนักเรียนแบบมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
  3. โรงเรียนมีครอบครัวต้นแบบที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเด็กผอมได้สำเร็จ
  4. โรงเรียนมีเมนูอาหารที่เหมาะกับบริบทพื้นที่ตามโปรแกรม Thai School Lunch และระบบการจัดการอาหารอย่างเป็นระบบ ทำให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.พ. 2563 15:23 น.