กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสูงวัย จิตแจ่มใส ร่างกายแข็งแรง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านคล้า
วันที่อนุมัติ 24 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กรกฎาคม 2563
งบประมาณ 12,150.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ร.ต.ต นิยม บำรุงชู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตาเซะ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.62,101.253place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 30 มิ.ย. 2563 12,150.00
รวมงบประมาณ 12,150.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)         การดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยการเรียนรู้และความเข้าใจวิธีดูแลที่ถูกต้อง โดยต้องใส่ใจการดูแลสุขภาพและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การดูแลผู้สูงอายุมีปัญหาสำคัญที่บุคคลในครอบครัวต้องเตรียมรับมือคือผู้สูงอายุมักไม่ยอมให้สมาชิกภายในบ้านดูแลตนเอง ผู้ใกล้ชิดที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวคนอื่นควรทำความเข้าใจสาเหตุและรับมือกับปัญหาดังกล่าว ผู้สูงอายุมักไม่ชอบให้ผู้ใกล้ชิดดูแลตนเอง เพราะอาจรู้สึกไม่ดีที่สมาชิกในครอบครัวคิดว่าตนเองต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือกังวลว่าจะกลายเป็นภาระ เนื่องจากทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัวและต้องปรับการดำเนินชีวิตใหม่ ผู้สูงอายุบางคนมักมีความเป็นตัวของตัวเองและวิตกว่าตนเองจะกลายเป็นคนอ่อนแอที่ยอมให้คนในครอบครัวมาดูแล หรือกังวลกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องเสียเพิ่มสำหรับดูแลตนเอง ที่สำคัญ ผู้สูงอายุที่ขี้ลืมมักไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไมต้องได้รับการดูแล สาเหตุเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหา

      การเรียนรู้ถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้สูงอายุรวมถึงวิธีป้องกันและดูแล จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้อีกยาวนานด้วยสุขภาพที่ดีและมีชีวิตชีวาเมื่อวัยเพิ่มขึ้น การทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะย่อมเสื่อมถอยลงไป ปัญหาสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แต่สามารถทำความเข้าใจ ป้องกัน และดูแลได้
      ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรกคือ กลุ่มโรคสามัญทั่วไปที่เป็นได้แม้ยังไม่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไต ซึ่งเกิดได้กับคนทุกวัย แต่พออายุมากขึ้น ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ คือเกิดจากความชราภาพของร่างกายหรือจากผลข้างเคียงจากโรคที่มารุมเร้าทำให้การดูแลตนเองถดถอยลง       ดังนั้น ชมรมผู้บานไม่ร้โรย จึงเสนอโครงการนี้เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุน และให้ผู้สูงอายุได้ดูแลสุขภาพของตนเองใน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ

ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ อย่างน้อยร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุในชมรมได้รับการตรวจสุขภาพ  ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ 100%

80.00
3 เพื่อลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

ลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้อย่างน้อยร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 80 12,150.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 มิ.ย. 63 1 อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ 80 12,150.00 -
  1. อบรมให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ
  2. ตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ
  3. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ
  4. กิจกรรมสันทนาการลดภาวะโรคซึมเศร้า
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุได้รับการตรวจสุขภาพ ประเมินการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุ
  3. สามารถลดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 15:48 น.