กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยห่างไกลอาหารขยะ
รหัสโครงการ 63-L1498-3-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศพด.อบต.น้ำผุด
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2563 - 13 มีนาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 5,924.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศพด.อบต.น้ำผุด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.673,99.726place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 หมวด 2 การกำหนดอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ มาตรา ที่ 16 ให้เทศบาลเมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริหารสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองดังนี้ (9) การจัดการศึกษา   ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรฐานด้านที่ การบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ตัวบ่งชี้ย่อย 1.5.2 การจัดกิจกรรมที่พ่อแม่/ผู้ปกครอง/ครอบครัว และชุมชน มีส่วนร่วม
  จากสังคมที่เปลี่ยนไปมีการพบเห็นว่าเด็กๆส่วนมากบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น น้ำอัดลม ขนมขบเคี้ยว ขนมหวานทุกชนิด ลูกอมหมากฝรั่ง อาหารทอดและอาหารจานด่วนบางชนิด การบริโภคอาหารขยะเป็นประจำจะส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหารโปรตีน วิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายและยังเสี่ยงต่อภาวะการเป็นโรคหัวใจความดันโลหิตจางโรคเบาหวานโรคไขข้อและโรคอ้วน ซึ่งส่งผลเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานของสมองด้วย เพื่อให้เด็กบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ และความสนใจในการเลือกบริโภคอาหารอย่างไม่ถูกหลักอนามัย ที่ให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะเด็กเนื่องจากผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการปลูกฝังลักษณะนิสัยการบริโภคที่ถูกหลักอนามัยให้กับบุตรหลาน แต่ในสังคมปัจจุบันต้องมีการแข่งขันในการทำงาน ทำให้หลายครอบครัวขาดความเอาใจใส่ในการบริโภคอาหารของลูกหลานในครอบครัว ทำให้เด็กๆบริโภคอาหารการกินจำพวกแฮมเบอร์เกอร์ เฟรนซ์ฟราย พิซซ่าและน้ำอัดลมว่าเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงแต่โปรตีนน้อยมากและมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำจึงไม่ควรกินเป็นอาหารหลัก หากกินอาหารเหล่านี้มากๆอาจส่งผลต่อร่างกายจากการกินอาหาร ที่ไม่มีประโยชนเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผุด ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดทำ โครงการ "หนูน้อยห่างไกลอาหารขยะ" ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพื่อพัฒนาให้เด็กได้รูจักบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านโภชนาการบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ และถูกหลักโภชนาการ และมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ปกครองและเด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของอาหารขยะ 2. เพื่อให้ผู้ปกครองมีทักษะในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก 3. เพื่อให้เด็กมีทักษะในการเลือกอาหารทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี
  • แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

โครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลน้ำผุด 2. ติดต่อวิทยากรเพื่อบรรยายให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 3. เชิญผู้ปกครองซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 4. จัดกิจกรรมการฝึกอบรมตามโครงการ"หนูน้อยห่างไกลอาหารขยะ" 5. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบประเมินก่อนการอบรม 6. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำแบบประเมินหลังรับการอบรม 7. สรุปผลการฝึกอบรม 8. รายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครองและเด็กได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของอาหารขยะ   2.ผู้ปกครองมีทักษะในการเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก   3.เด็กมีทักษะในการเลือกอาหารทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 2563 11:36 น.