กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบูรณาการแบบยั่งยืน รพ.สต.นางเหล้า อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L5238-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนางเหล้า
วันที่อนุมัติ 17 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,460.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมรัตน์ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายจำรัสหวังมณีย์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.603,100.385place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยในแต่ละปีมีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวนมากทำให้มีการสูญเสียงบประมาณที่ใช้ในการรักษาอย่างมากจากรายงานทางระบาดวิทยาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558– 1 มกราคม 2559 มีผู้ป่วยรวมทั้งสิ้น 10,147ราย อัตราป่วย15.97 ต่อประชากรแสนคน (พบผู้ป่วย 16 คน ในประชากรหนึ่งแสนคน จำนวนนี้เสียชีวิต 9 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.09จังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559–22 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 3,553 รายคิดเป็นอัตราป่วย 252.71 ต่อประชากรแสนคนซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัดเสียชีวิต 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย0.43 ต่อแสนประชากร พื้นที่อำเภอสทิงพระ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2559–22 พฤศจิกายน 2559 พบผู้ป่วยจำนวน 34 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 69.61 ต่อประชากรแสนคนซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ในพื้นที่เขตรับผิดขอบของรพ.สต.นางเหล้าปี 2557 - ปี 2559 พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 2 ราย , 1 ราย และ 3 ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน เท่ากับ 70.83 ,40.29 และ 120.20ตามลำดับ ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ซึงในปี 2557 และ ปี 2559 อัตราป่วยเกินเกณฑ์มาตรฐานตัวชี้วัด (อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยด้ายโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการรณรงค์ กำจัดลุกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน และลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย 3.เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กร ชุมชน และประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ 80 ของรพ.สต. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายCI= 0 /ในหมู่บ้านมีค่า HI น้อยกว่า 10 2. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก น้อยกว่าร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลัง (2555-2559)
3. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ระดับ 5

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ 1.จัดเวทีประชาคมสุขภาพเพื่อชี้แจงสภาพปัญหา ร่วมแสดงความคิด เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา 2.จัดทำโครงการ เพื่อขออนุมัติ 3.จัดซื้อ วัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการป้องกัน รณรงค์ และควบคุมโรค เมื่อมีการระบาด 4.การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ 5.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ อสม. 2.จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคระดับตำบล 3.อสม.ร่วมกับเจ้าของบ้านสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละครั้งและอสม.ส่งรายงานผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายทุกเดือน 3.1 รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและจัด Big Cleaning Day ในชุมชน ,โรงเรียน,วัด มัสยิด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ปีละ4 ครั้ง(ธค.59 ,มีค60 ,มิย60.,กย.60.) 4.ให้ความรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นไวนิล การจัดนิทรรศการและแจกเอกสารแผ่นพับ 5.ประสาน อบต.เพื่อพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวเต็มวัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(ก่อนเปิดเทอม) และในชุมชน(กรณีมีผู้ป่วย) 5.1ใช้สเปรย์ฉีดยุงในบ้านของผู้ป่วยกรณีที่ไม่สามารถพ่นหมอกควันได้ทันที
วิธีดำเนินการ(ต่อ) 5.2 แนะนำการใช้โลชั่นแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้านและในผู้ป่วยที่สงสัยว่าน่าจะป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกที่มารับ บริการที่รพ.สต. 6.การสุ่มตรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่สาธารณะและในชุมชน ปีละ 4 ครั้ง 7. เฝ้าระวังการเกิดโรคในพื้นที่โดยทีมควบคุมโรคระดับตำบล และภาคีเครือข่ายพร้อมวิเคราะห์สถานการณ์โรคไข้เลือดออกและแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
ขั้นประเมินผล 1.ติดตามผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน/ตำบล 2.รายงานกิจกรรมการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายทุกเดือน
3.สรุป /รายงานสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก 4.สรุปและประเมินผลภาพรวมของโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2560 13:54 น.