กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (covid-19)
รหัสโครงการ 63-50117-5-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ
วันที่อนุมัติ 9 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 22,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมควร จิตรแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ นางวลัยภรณ์ เยาดำ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงเหนือ อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.566,99.699place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4750 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งยอมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)       จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563
เวลา 21.00 น. มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกรวม 62 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษและเรือ Diamond Princess รวมจำนวน 86,993 ราย มีอาการรุนแรง 7,567 ราย เสียชีวิต 2,980 ราย และสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง 4,234 ราย พบผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 50ราย หายป่วยและแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล 31 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 18  ราย  ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง 1 ราย  ผู้ป่วยยืนยันเสียชีวิต 1 ราย

        เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  มาตรการ ที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะ และไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชน ในพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงหน้ากากอนามัย และการล้างมือเพื่อป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ  ชุมชน และบริการสาธารณะต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ

  องค์การบริหารส่วนตำบลนาโยงเหนือ อาศัยอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537  และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.  2542  มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมือง


2 พัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ทันต่อเหตการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

  1. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย  มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ
    2.3 เพื่อให้ทีมวิทยากร หรือทีมครู ก. เผยแพร่การจัดทำหน้ากากอนามัย ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ในชุมชน 2.4  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถป้องกันโรคด้วยตนเอง 2.5 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ..........................................
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีทรัพยากรงบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid -19 )

 

4750.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ

 

4750.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 55 22,840.00 3 22,840.00
12 มี.ค. 63 กิจกรรมที่1 ค่าดำเนินการอมรมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังและป้องกันกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ให้กับเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน ในเขต อบต.นาโยงเหนือ 55 3,675.00 3,675.00
12 มี.ค. 63 กิจกรรมที่2 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการสาธิตทำหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันตนเอง 0 5,165.00 5,165.00
12 มี.ค. 63 กิจกรรมที่3 ค่าสื่อประชาสัมพันธ์การเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 0 14,000.00 14,000.00

3.1 ขั้นตอนวางแผนงาน -ร่วมกันวางแผนงาน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานตามโครงการ -แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติบัติงานตามแผนงาน/โครงการ -ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน       3.2 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ       3.3 ขั้นตอนการดำเนินงาน     - จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย  เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และอบรมเชิงปฎิบัติการการจัดทำหน้ากากอนามัยชนิดผ้า     - จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
          - รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ประชาชนรับทราบข้อมูล สถานการณ์ของโรค ฝ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น แจกใบปลิว ติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดต่าง ๆ ภายในชุมชน ประกาศเสียงตามสาย ฯลฯ - ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวัง และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ - สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบ เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและ มีประสิทธิภาพ
2. ทีมวิทยากร หรือทีมครู ก.มีความรู้และทักษะในการจัดทำ หน้ากากอนามัย  และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดจนสามารถสอนวิธิการจัดทำหน้ากากอนามัย  ให้แก่ประชาชนเพื่อป้องกันตนเองจากโรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 3. ประชาชนเกิดความตระหนักและสามารถป้องกันโรคระบาดโดยเริ่มจากตนเองและร่วมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 11:52 น.