กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รหัสโครงการ 63-L4159-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.บ้านเกาะ
วันที่อนุมัติ 9 ธันวาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 กันยายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 56,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขรพ.สต.บ้านเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวฟาฎีละห์ กูนิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.565,101.458place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ก.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 56,550.00
รวมงบประมาณ 56,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ทำให้เกิด ความสูญเสียแก่ชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน  พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา     จากข้อมูลรายงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ ในปี 2562 ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะพบว่าสามารถลดอัตราการป่วยได้ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนในชุมชน และการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ชุมชนรู้ถึงการระบาดของโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออก การแพร่เชื้อและการกระจายโรค โรคไข้เลือดออก จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล ชมรม อสม.บ้านเกาะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
          จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนในชุมชน เห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน และต้องมีความรู้ ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก ดังนั้นชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเกาะได้จัดทำโครงการ ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อให้ประชาชน ได้มีความรู้ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการลดแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงซึ่งเป็นพาหะนำโรค เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก 2. เพื่อสร้างกระแสความร่วมมือของประชาชนและองค์กรต่างๆ ในชุมชนในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ปลอดลูกน้ำยุงลาย
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก           2. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย           3. ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมเพื่อหาแนวทางการดำเนินงาน
    1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
    2. ประชุมชี้แจงผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะ
    3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากไข้เลือดออก       5. รณรงค์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
    4. สรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก     2. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย     3. ลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ และลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2563 20:51 น.