กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมบริโภคผัก ผลไม้ เพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียน ลดภาวะทุพโภชนาการ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านรามัน (โครงการสิ่งแวดล้อม)
วันที่อนุมัติ 2 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 39,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาบัส สาเหล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะโภชนาการเกินและภาวะขาดสารอาหารในเด็กไทย เป็นปัญหาสำคัญที่ควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง สาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไทยวัยเรียน ผอม เตี้ย อ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การกินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ กินผัก ผลไม้น้อยลง การบริโภคขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางกายและการ ออกกำลังกายน้อยลง ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กไทย
จากผลการปฏิบัติงานภาวะโภชนาการ โรงเรียนบ้านรามัน มีนักเรียนที่ต้องเฝ้าระวังโภชนาการ 431 ราย สูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ57.63  โดยแบ่งเป็น ผอม และ ค่อนข้างผอม คิดเป็นร้อยละ 14.16 เตี้ย และ ค่อนข้างเตี้ย คิดเป็นร้อยละ 18.63 และอ้วน และ เริ่มอ้วน คิดเป็นร้อยละ 6.12 ทำให้ผลดำเนินงาน ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ทำให้ผลดำเนินงาน ยังไม่บรรลุตามเป้าหมาย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาทางสติปัญญา ร่างกาย และอารมณ์ของเด็ก ทำให้เด็กขาดศักยภาพที่จะเรียนรู้ตามวัย ซึ่งจะต้องช่วยกันสร้างบริโภคนิสัยที่ดีให้กับเด็ก จะเห็นได้ว่าปัญหาเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการทบทวนสาเหตุเกิดจาก เด็กวัยเรียน ผอม เตี้ย หรืออ้วน เพราะพฤติกรรมทางโภชนาการและสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งจากการสำรวจโภชนาการ วัย 6-14 ปี จำนวน 1 ใน 5 คน กินอาหารไม่ครบ 3 มื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้ามีมากถึงร้อยละ 60 ที่ไม่ได้กิน เด็กวัย 6- 14 ปี ร้อยละ 68 และ 55 กินผักและผลไม้น้อยกว่า 1 ส่วนต่อวันตามลำดับ ในขณะที่เด็ก 1 ใน 3 กินอาหารแป้ง ไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูงเป็นประจำ ที่น่าตกใจเด็กวัยเรียนร้อยละ 49.6 กินขนมกรุบกรอบ

เป็นประจำ ซึ่งขนมกรุบกรอบส่วนมากจะมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม และให้พลังงานสูง ขนมกรุบกรอบที่ไม่มีประโยชน์ ส่วนอาหารกลางวันมีเด็กวัยเรียนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้กิน ถึงได้กินแต่เป็นอาหารกลางวันที่ขาดคุณภาพและไม่เพียงพอ ส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน ผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เต็มตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ซึ่งจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังและดูแลแก้ไขเด็กกลุ่มนี้         ด้วยเหตุนี้โรงเรียนบ้ารามัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพในโรงเรียนขึ้น โดยเน้นที่การปรับอาหารกลางวันของแม่ครัว และเพิ่มให้ในมื้ออาหารนั้นมีสัดส่วนของปริมาณผัก ผลไม้ในกระบวนการทำอาหารกลางวันถูกต้องตามหลักโภชนาการ พร้อมทั้งสร้างความรู้/ความตระหนักให้นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพตลอดจนลดการบริโภคน้ำหวานลง และเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีของนักเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อให้แม่ครัวและแกนำนักเรียนมีความรู้ ทักษะในการบริหารจัดการเรื่องการจัดการอาหารและโภชนาการ ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลตนเองด้านพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนบริโภคผัก ผลไม้ในมื้อกลางวันเพิ่มขึ้น
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้หลังการอบรม
    • แกนนำนักเรียนจัดทำและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ในโรงเรียน อย่างน้อย 1 โครงงาน
    • แกนนำนักเรียนติดตามพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ ร้อยละ 95 -ร้อยละ 80 นักเรียนบริโภคผัก ผลไม้ ในมื้อกลางวันเพิ่มมากขึ้น
  • เด็กวัยเรียนมีรูปร่างสูงดีสมส่วน ร้อยละ 80
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดตั้งคณะทำงาน ณ ห้องประชุมโรงเรียนบ้านรามัน เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
                  1.1 สำรวจพฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ของ เด็กวัยเรียนโรงเรียนบ้านรามันในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองรามันห์ ตำบลกายูบอเกาะ โดยครูอนามัยโรงเรียน ระหว่างวันที่..................................... เวลา................ น.   1.2 ประชาสัมพันธ์โครงการในโรงเรียน         2. พัฒนาศักยภาพเด็กวัยเรียน และแม่ครัว
                    2.1 อบรมให้ความรู้ อาหารและโภชนาการในโรงเรียน คุณประโยชน์ของผัก ผลไม้ชนิดต่างๆ และทักษะการสื่อสารในที่สาธารณะ ในกลุ่มเป้าหมายนักเรียนในเขตพื้นที่ ตำบลกายูบอเกาะ โดยแบ่งเป็นแกนนำนักเรียน 10 ราย นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ 140 ราย รวมจำนวน 150 ราย ระหว่างวันที่............................ เวลา................ น. โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน                 2.2 การดูแลสุขภาพฟันในเด็กวัยเรียน ระหว่างวันที่............................ เวลา................ น. โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน                 2.3 อบรมให้ความรู้แก่แม่ครัว คณะทำงาน เรื่องการจัดการอาหารกลางวันที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ จำนวน 15 ราย ระหว่างวันที่..................................... เวลา................ น. โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลรามัน             3. ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการบริโภคผัก ผลไม้ ระหว่างวันที่.................................... เวลา................ น. โดยมีรูปแบบการดำเนินกิจกรรม ดังนี้               3.1 แกนนำนักเรียนจัดทำและขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการบริโภคผักผลไม้ในโรงเรียน อย่างน้อย 1 โครงงาน รูปแบบในการจัด ได้แก่ โครงงานประโยชน์จากการบริโภคผัก ผลไม้
                  3.2 แกนนำนักเรียนสามารถติดตามพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ของเพื่อนนักเรียนได้
                4. จัดทำรายการอาหารกลางวัน ระหว่างวันที่..................................... เวลา................ น.
                  4.1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อจัดทำรายการอาหารกลางวันทุกเดือน               4.2 แม่ครัวปรุงอาหารมื้อกลางวันตามรายการอาหารที่กำหนดไว้ทุกมื้อ             5. ติดตามประเมินผลโครงการโดยคณะทำงาน ( หลังดำเนินการโครงการ )                 5.1 ติดตามพฤติกรรมการบริโภคอาหารกลางวันของนักเรียนจากปริมาณผัก ผลไม้ที่เหลือในมื้อกลางวัน                 5.2 ติดตามปริมาณผัก ผลไม้ที่ใช้ในปรุงและบริโภคในมื้อกลางวันเพิ่มขึ้น และปริมาณผัก ผลไม้คงเหลือลดลง               5.3 ประเมินการจัดทำเมนูระหว่างมีความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายทุกสัปดาห์               5.4 คืนข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ของนักเรียนร่วมกับผู้ปกครอง ในเวทีประชุมผู้ปกครองประจำปี
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ในมื้อกลางวัน เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของนักเรียนดีขึ้น ได้แก่ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะซีด และปัญหาเรื่องสุขภาพนั้น ที่มีการพัฒนาและแก้ไขไปพร้อมกัน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2563 15:55 น.