กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลเด็ก (Care giver) ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0 - 3 ปี รุ่นที่ 2
รหัสโครงการ 60 - L3335 - 1 - 05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธัญญาลักษณ์พรหมเพชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.244,100.321place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟันตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากกลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี ปี ๒๕60 ระดับประเทศ พบว่ากลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ ๕2 ในขณะที่ภาคใต้เขตสุขภาพที่ ๑๒ พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี มีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ ๕๖ สำหรับจังหวัดพัทลุง แม้โรคฟันผุของเด็กเล็กจะมีความชุกต่ำสุดในเครือข่าย แต่ก็พบว่าเด็กอายุ ๓ ปี ยังคงสูงกว่าเป้าหมายของประเทศ นโยบายของงานทันตสาธารณสุข เขต ๑๒ ในปี ๒๕๖๐ เพื่อลดอัตราการเกิดฟันผุในทุกกลุ่มวัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพตนเอง (self care) โดยการแปรงฟันที่มีคุณภาพ ร่วมกับกระบวนการให้บริการทันตกรรมป้องกันโดยการทาฟลูออไรด์วานิชที่มีคุณภาพของหน่วยบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกระดับ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากโดยใช้ชุดโปรแกรมทันตสุขภาพแบบบูรณาการและดำเนินการ “Dental Caregiver Model” ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ๐ – ๓ ปี ๖ หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านห้วยลึก หมู่ที่ ๒ บ้านเกาะเสือ หมู่ที่ ๓ บ้านดอน หมู่ที่ ๔ บ้านทุ่งนอก หมู่ที่ ๕ บ้านโคกทราย และหมู่ที่ ๖ บ้านก้านขี้เหล็ก ดังนั้นในปี ๒๕60โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกทราย ตำบลดอนทราย อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญในการที่ จะลดอัตราการเกิดฟันผุในเด็ก ๐ – ๓ ปี จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลเด็ก (Care giver) ในการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก ๐ – ๓ ปี รุ่นที่ 2 เพื่อบูรณาการส่งเสริมป้องกันฟันผุในเด็กเล็กให้มีการสืบเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักให้มีความรู้ ด้านทันตสาธารณสุขมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

อสม.และผู้เลี้ยงดูหลักมีความรู้ ด้านทันตสาธารณสุขมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักในการดูแลเฝ้าระวัง ติดตาม การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เด็ก ๐ – ๓ ปี

อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักมีการดูแลเฝ้าระวัง ติดตาม การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เด็ก ๐ – ๓ ปี

3 เพื่อให้ อสม. และผู้เลี้ยงดูหลัก มีทักษะในการแปรงฟันให้เด็กอย่างมีคุณภาพ

อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักมีทักษะในการแปรงฟันให้เด็กอย่างมีคุณภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. แผนการดำเนินงาน ๒. จัดทำโครงการและขออนุมัติโครงการ ๓. ประสานงานวิทยากร กลุ่มเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. กิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในเด็ก 0-3 ปี 4.1 ตรวจสุขภาพช่องปาก 4.2 ทาฟลูออไรด์วานิช 4.3 ฝึกการแปรงฟันที่ถูกวิธีและใช้ยาสีฟันที่ส่วนผสมของฟลูออไรด์ 4.4 ให้สุขศึกษาการดูแลสุขภาพช่องปากและฝึกทักษะการแปรงฟันสำหรับเด็กให้แก่ผู้ปกครอง 3.5 ให้สุขศึกษาครูผู้ดูแลเด็กเรื่องการตรวจฟัน การแปรงฟัน การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ และการจัดอาหารที่มีประโยชน์ต่อฟัน ๕. อบรมผู้เลี้ยงดูหลัก เด็ก 0-3 ปี 5.1 อบรมให้ความรู้ทางทันตสุขศึกษาแก่ผู้เลี้ยงดูหลัก เด็ก 0-3 ปี 5.2 สนับสนุนสื่อการให้ทันตสุขศึกษา 5.3 ตรวจสุขภาพช่องปากพร้อมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้เลี้ยงดูหลัก ๖. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ๗. สรุปผลการดำเนินงาน ๘. การคัดกรองและประเมินกลุ่มเสี่ยงในการเกิดฟันผุ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.และผู้เลี้ยงดูหลักมีความรู้ ด้านทันตสาธารณสุขมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก ๒. อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักมีการดูแลเฝ้าระวัง ติดตาม การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เด็ก ๐ – ๓ ปี ๓. อสม. และผู้เลี้ยงดูหลักมีทักษะในการแปรงฟันให้เด็กอย่างมีคุณภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2560 10:20 น.