กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา ”

ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางสาวปายีหย๊ะ ตาเยะ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา

ที่อยู่ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L3068-10(3) เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 63-L3068-10(3) ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 9,870.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ปัญหาทั้งด้านสุขภาพและความปลอดภัย มีสาเหตุมาจาก ตัวเด็กเอง และสภาพแวดล้อม ตลอดจนปัจจัยในการเลี้ยงดูและพัฒนาของเด็กแต่ละคน ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน ผู้ปกครองและครูจึงต้องรู้เท่าทันภูมิหลังด้านสุขภาพของเด็ก และมีความรอบคอบในการเตรียมรับมือ กรณีที่เกิดปัญหาด้านสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กแต่ละคน โดยเฉพาะการระมัดระวังการแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หรือการเตรียมการซักซ้อมก่อนการเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน และเกิดความปลอดภัยแก่เด็กมากที่สุดอาจกล่าวได้ว่าสุขภาพและความปลอดภัย เมื่อนำมาพิจารณารวมกันแล้ว ย่อมหมายถึง“ทั้งชีวิตของเด็ก” ปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจำแนกออกได้เป็น ๒ ประเภทคือ สาเหตุอันเกิดจากปัจจัยภายใน และจากปัจจัยภายนอก ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ๑. สาเหตุจากปัจจัยภายใน ซึ่งเกิดขึ้นจากความผิดปกติในตัวเด็กเอง โดยปัญหาของเด็กมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ - เด็กมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่พัฒนาโดยสมบูรณ์ นอกจากนี้อาจเกิดจากความผิดปกติทางร่างกายของเด็กเอง - โรคภูมิแพ้หรืออาการแพ้ประเภทต่างๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้สัตว์ปีก ซึ่งอาจทำให้เด็กต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนในบางกรณี ๒. สาเหตุจากปัจจัยภายนอกสำหรับปัจจัยภายนอก สิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งปัญหาที่เกิดกับเด็กส่วนใหญ่ มักเกิดจากเหตุดังต่อไปนี้ - การติดเชื้อ การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียหรือไวรัส ซึ่งสามารถแพร่จากคนสู่คนได้อย่างง่ายดายผ่านการสัมผัส (Cross-infection) - การเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง ตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งครอบคลุมทั้งเรื่องของอาหารการกิน ไปจนถึงการดูแลเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของลูก - เด็กขาดประสบการณ์หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ - อุบัติเหตุประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหกล้มเพียงเล็กน้อย หรืออาจรุนแรงถึงอุบัติเหตุที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต - การได้รับสารพิษ - การรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ ดังนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นกับสุขภาพและความปลอดภัย ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือการเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว นอกจากนี้ยังขัดขวางต่อพัฒนาการของเด็กในทุกๆด้านอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กปฐมวัย ปัญหาที่เกิดกับสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ยังรวมถึงความผิดปกติที่อาจติดตัวเด็กไปได้ตลอดชีวิต อาทิเช่น เด็กที่เป็นโรคขาดสารอาหารมักมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง หรืออาจมีร่างกายแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต และมีพัฒนาการที่ไม่สมวัย การช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กย่อมมีความสำคัญต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก และที่สำคัญคือครอบครัวของเด็กจะต้องเข้ามามีบทบาท และมีส่วนสำคัญในการดูแลให้เด็กทุกคนได้กินดีอยู่ดี มีที่อยู่ ที่หลับนอนที่ปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายครอบครัวที่รายได้ไม่เพียงพอจุนเจือสมาชิกใหม่ในครอบครัว ผู้ปกครองมีการศึกษาน้อย หรือมีถิ่นที่อยู่อาศัยในสภาวะแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็ก ครอบครัวเหล่านี้จึงมีข้อจำกัดในการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาได้อย่างเหมาะสม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากจะมีปัญหาสุขภาพแล้วพวกเขาเหล่านั้นยังอาจถ่ายทอดการเลี้ยงดูในแบบที่ตนเองได้รับไปสู่ลูกหลาน เป็นวงจรที่สร้างปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยไม่สิ้นสุด และไม่อาจได้รับการแก้ไขได้ จนกว่าชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวเหล่านั้นจะดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา จึงต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมการออกกำลังกาย และการดูแลสุขภาพของเด็กรวมทั้งการดำเนินการเตรียมความพร้อมตามมาตรการการป้องกันควบคุมโรค อย่างเข้มข้นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านบางตาวา ขึ้น เพื่อส่งเสริมส่งเสริมสุขภาพและสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองผู้ประกอบอาหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัย และการรู้จักการดูแลสุขภาพร่างกายได้ด้วยตนเอง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก
  2. เพื่อส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค
  3. . เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการออกกำลังกายตามความเหมาะสมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมจัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ,ผู้ปกครองเด็กและ ผู้ประกอบอาหาร จำนวน 36 คน
  2. จัดกิจกรรม เสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดโรคสำหรับเด็ก
  3. กิจกรรมขยับกาย
  4. กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม ภายในและภายนอกศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค ทุกวันศุกร์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 33
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดเชื้อและมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยและปลอดโรค 3.เด็กรู้จักการออกกำลังกายเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ ตามพัฒนาการแห่งวัย และเห็นความสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยตนเองได้อย่างถูกวิธี

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก
ตัวชี้วัด : ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบอาหาร ที่เข้าร่วมการอบรมร้อยละ 80% มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค
ตัวชี้วัด : ศูนย์พัฒนาเล็กปลอดเชื้อและมีสภาพแวดล้อมที่สะอาด ปลอดภัยและปลอดโรค
0.00

 

3 . เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการออกกำลังกายตามความเหมาะสมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก
ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอย่างน้อย 80 % รู้จักการออก กำลังกายเพื่อการพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ตามพัฒนาการแห่งวัย
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 33
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 33
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก ผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคของเด็ก ในศูนย์เด็กเล็ก (2) เพื่อส่งเสริมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค (3) . เพื่อให้เด็กรู้จักวิธีการออกกำลังกายตามความเหมาะสมพัฒนาการแห่งวัยของเด็ก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมจัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ,ผู้ปกครองเด็กและ    ผู้ประกอบอาหาร จำนวน  36 คน (2) จัดกิจกรรม เสริมทักษะการดูแลตนเองให้ปลอดโรคสำหรับเด็ก (3) กิจกรรมขยับกาย (4) กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม ภายในและภายนอกศูนย์เด็กเล็ก ให้ปลอดภัย ปลอดโรค  ทุกวันศุกร์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวา จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 63-L3068-10(3)

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวปายีหย๊ะ ตาเยะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด