กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
รหัสโครงการ 63-L8009-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เทศบาลตำบลทุ่งหว้า
วันที่อนุมัติ 5 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 15,270.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางนูรมา หลังเถาะ 2.ฟาตีม๊ะ หีมปอง 3.นายดุสิตขุนยยะระ 4. นายวิเศษ ขาวดี 5.นางณัฐณิชา ยีกาเดี๊ยะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายกูดนัย ราเหม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสาธารณสุขของประเทศไทยต้องพบเจอกับปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตสมผลมาหลายทศวรรษซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อตัวผู้ป่วยและก่อให้เกิดปัญหาต่อประเทศชาติเนื่องด้วยการใช้ยาอย่างไม่สมเหตสมผลนั้นอาจนำไปสู่ความล้มเหลวทางด้านการรักษาหรืออาจรักษาหรืออาจให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์กับตัวยาที่ใช้กับผู้ป่วย เช่นการเกิดเชื้อดื้อยาที่เพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วย และปัญหาต่อประเทศชาติในการสูญเสียงบประมาณของประเทศชาติจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ซึ่งสำหรับประเทศไทย พบว่ามูลค่าการบริโภคของคนไทยสูงขึ้นถึง 1.4 เเสนล้านบาทโดยในจำนวนนี้เป็นจำนวนนี่เป็นผู้ป่วยที่ใช้ยาเกินความจำเป็น 2,370 ล้านบาท และกลุ่มการใช้ยาอย่างมีข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพอีก4,000 ล้านบาท อีกทั้งจากการสำรวจพบว่าปัญหาจากการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลนั้นเกิดขึ้นในทุกระดับหน่วยการให้บริการตั้งแต่ระดับสถานพยาบาลถึงระดับชุมชน และระดับองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า ทั่วโลกมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลมากกว่าร้อยละ 50 ของการใช้ยา โดยปัญหาการใช้ยาอย่างไม่สมเหตสมผลนั้นอาจเกิดได้จากทั้งผู้ให้บริการในการจ่ายยาและจากการคาดหวังที่จะได้รับยาปฏิชีวนะโดยตรงจากตัวผู้ป่วยเอง เนื่องจากผู้รับบริการอาจมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะไม่เพียงพอ เช่น ผู้รับบริการเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความเข้าใจว่ายาปฏิชีวนะมีความจำเป็นต่อการรักษาความเจ็บป่วยความรวดเร็วในการทุเลาของอาการหรือแม้เเต่ประสบการณ์เคยได้รับยาปฏิชีวนะจากอาการที่คล้ายกันจากครั้งเดียวก่อนๆ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มีการกำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์ การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ว่าด้วยยุทธศาสตร์การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยระบุในยุทธศาสตร์ว่า การใช้ยาโดยแพทย์ บุคลากรทางด้านสาธารณสุขและประชาชนต้อเป็นไปอย่างเหมาะสมถูกต้องและคุ้มค่า เพื่อลดปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตสมผล ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกที่ว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล(Rational drug use RDU) คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมและมีค่าใช้จ่ายต่อชุมชนต่อผู้ป่วยน้อยที่สุด
  ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลทุ่งหว้า จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนัก และความความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ทั้งในผู้ปฏิบัติงานด้านสุขปฏิบัติงานด้านสุขภาพและประชาชน รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพทย์ทางเลือก การดูแลสุขภาพของตัวเองและเพื่อส่งเสริมสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ การใช้ยาอย่างสมเหตสมผลและป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากตัวยาหรือโอกาสการป่วยจากการเกิดเชื้อดื้อยาแก่ประชาชนจึงจัดโครงการอบรมความรู้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้อสม.และแกนนำในชุมชนสามารถนำความรู้ที่ไๆด้รับจากการอบรมไปปรับใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัวในเขตรับผิดชอบและคนในชุมชนพร้อมทั้งมีองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ อสม.แกนนำในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างฃสมเหตสมผล

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตสมผลเพิ่มมากขึ้นรอย่างน้อย ร้อยละ 70

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ อสม. แกนนำในชุมชนสามารถเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกและเเนวทางการดูแลตัเองจากการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น

2.กลุ่มเป้าหมายมีการเลือกใช้บริการแพทย์ทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50

0.00
3 3.เพื่อลดอัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตสมผลในชุมชน

3.อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลงร้อยละ 20

0.00
4 4.เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสการป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่คนในชุมชน

ไม่มีการเกิดเชื้อดื้อยาและโอกาสป่วยจากเชื้อดื้อยาแก่คนในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 82 15,270.00 0 0.00
17 มี.ค. 63 โครงการอรมความรู้เรื่องการใช้ยาอย่างสมเหตสมผล 82 15,270.00 -
  • ระยะเตรียมการ -กำหนดโครงการ ประชุมทีงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ -ดำเนินการเขียนโครงการ -นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ -จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของโครงการ
  • ระยะเตรียมการ -ค้นหากลุ่ี่มเป้าหมาย อสม.ในชุมชน
    -ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในชุมชโดยอาสาสมัครสาธารณสุข -ติดต่อวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการใช้ยา -อบรมให้ความรู้เเนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล -อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรค ภาวะเเทรกซ้อนและอันตรายจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล -อบรมให้ความรู้ แนะนำการดูแลตัวเองและความรู้เรื่องเเพทย์ทางเลือก
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล 2.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ในการเลือกใช้เเพทย์ทางเลือกและเเนวทางการโุแลตัวเอง 3.อัตราการใช้ยาและการจ่ายยาอย่างไม่สมเหตุสมผลลดลง 4.ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์และการเกิดเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผล

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2563 14:50 น.