กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจหาสารเคมีในเลือดกลุ่มเกษตรกร ตำบลกาหลง อำเภอ ศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L2524-1-0009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่
วันที่อนุมัติ 26 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 ธันวาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนาซีพ๊ะ ขุนกาเซ๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลรอฟิด หะยีดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.211551,101.423378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 31 ธ.ค. 2563 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนของเกษตรกรที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย(คน)
50.00
2 จำนวนผู้บริโภคที่มีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยประชากรส่วนใหญ่ในตำบลกาหลง ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ ทำสวนผลไม้และสวนยางพารา มีการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช กระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังคงใช้ในระดับที่สูงอยู่ โดยเฉพาะยาปราบศัตรูพืชกลุ่มออแกนโนฟอสเฟสและกลุ่มคาร์บาเมท จากข้อมูลสอบถามร้านจำหน่ายยาปราบศัตรูพืชดังกล่าวในอำเภอศรีสาคร มียอดจำหน่ายสูงกว่าชนิดอื่น แสดงว่าเกษตรกรในตำบลกาหลง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลกาหลง จึงได้จัดทำโครงการตรวจหารสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกรขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลกาหลง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดโดยการวัดค่าเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสว่าอยู่ในระดับใด เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อค้นหาประชาชนกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

 

3.00 3.00
2 ๒. เพื่อแก้ไขปัญหาผู้บริโภคมีสารเคมีทางการเกษตรตกค้างในกระแสเลือดระดับอันตราย

 

3.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
??/??/???? 1.ประชุม ๑.1ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ 0 250.00 -
??/??/???? ๒.อบรมให้ความรู้ 0 5,880.00 -
1 เม.ย. 63 - 31 ธ.ค. 63 3.ตรวจคัดกรอง 0 3,870.00 -

1 ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
2ประสานหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง
3จัดทำแผนงานโครงการเพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุน จากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
4เตรียมเครื่องมอ อุปกรณ์ในการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนโซม์โคลีนเอสเตอเรส
5จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
6ดำเนินการตรวจสอบหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร
7จัดบริการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและตรวจซ้ำ
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล
1ติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงผลการดำเนินงาน พร้อมรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในเขตตำบลกาหลง
2.ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีผลการตรวจซ้ำในระดับเกณฑ์ปกติและปลอดภัยเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2563 00:00 น.