กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านฉลุงร่วมใจ ลดขยะ ลดโรค
รหัสโครงการ 63-L5273-2-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชดาดล พิทักษ์คุมพล
พี่เลี้ยงโครงการ นางดวงใจ อ่อนแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.007,100.296place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2563 15 มี.ค. 2564 30 ก.ย. 2563 50,000.00
รวมงบประมาณ 50,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเสี่ยงไม่ได้ก็คือขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นชุมชนจัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม แม้ว่าขยะจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือการเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจากชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (Recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่าง ๆ จากการทำประชาคมสุขภาพในหมู่บ้าน พบว่า ปัญหาขยะเป็นปัญหาอันดับ 1 ในหมู่บ้านและรองลงมาคือปัญหาโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือขยะ เช่น โรคอุจจาระร่วง โรคไข้เลือดออก ในปีที่ผ่านมาในหมู่ที่ 7 บ้านฉลุง มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกระบาดในพื้นที่ส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม ส่งผลให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค ด้วยเหตุนี้ ทางหมู่บ้านจึงได้จัดทำโครงการ ลดขยะในครัวเรือนเพื่อลดโรค ในพื้นที่หมู่ที่ 7 บ้านฉลุงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนและชุมชน ได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็น ในการคัดแยกขยะ และการใช้ประโยชน์จากขยะและเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อ 1.เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะ

1.แกนนำและประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะที่ถูกต้อง  ร้อยละ 80

0.00
2 ข้อ 2.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน มีการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์โดยใช้ หลักการ 3Rs คือ การใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่

2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการแยกขยะในครัวเรือน ร้อยละ 80

0.00
3 ข้อ 3.เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะมูลฝอย

3.ค่า HI น้อยกว่า 10, CI น้อยกว่า 5

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 ประชุมให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออก การจัดการสิ่งแวดล้อมและการคัดแยกขยะ 70 18,100.00 18,100.00
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน 0 14,600.00 14,600.00
15 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้านและกิจกรรม 5ส 0 17,300.00 11,050.00
รวม 70 50,000.00 3 43,750.00

1.ประชุม คณะทำงานและชาวบ้าน เพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.จัดทำโครงการ ขออนุมัติการใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ฉลุง 3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.กิจกรรมอบรมแกนนำสิ่งแวดล้อม ให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่เกิดจากปัญหาขยะหรือสิ่งแวดล้อม การคัดแยกและการจัดการขยะในครัวเรือน 5.กิจกรรม 5ส Big Cleaning Day เดือนละ 2 ครั้ง ทุกวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1,3 ของเดือน จำนวน 5 เดือน 6.มีการจัดการขรยะต้นทาง แต่ละครัวเรือน 7.จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบการจัดการเรียนรู้ในชุมชน   -จัดหาสถานที่ โดยใช้ที่มัสยิดหมู่ที่ 7   -จัดทำไวนิลให้ความรู้ เรื่องการคัดแยกขยะ ลดโลกร้อน โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง เป็นต้น   -แต่งตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์การเรียนรู้   -จัดจุดสาธิต น้ำหมักชีวภาพ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้ จุดคัดแยกขยะ 9.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง 2.เกิดระบบการจัดการขยะของชุมชนที่ดีและมีประสิทธิภาพ 3.สร้างรายได้เสริม และปลูกฝังนิสัยการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับครัวเรือนในชุมชน 4.ชุมชนมีศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2563 15:40 น.