กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ประชาชนคนคลองเฉลิม
รหัสโครงการ 2563-L3306-1-002
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลกงหรา
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา ขำนุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8138 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สําคัญที่พบได้มากในประเทศไทย พบประมาณหนึ่งในห้าของผู้มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบมักไม่แสดงอาการของโรคทําให้ประชาชน ไม่ทราบว่าตนมีภาวะความดันโลหิตสูง(silentdisease) นอกจากนี้ภาวะความดันโลหิตสูงส่งผลต่อการเกิดป่วย และการเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อสําคัญหลายโรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหัวใจล้มเหลว, โรค หลอดเลือดสมอง, โรคไต เป็นต้น ในปี 2560 - 2562 พื้นที่ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 995, 1027, 1073 คน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ประชาชนป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น ประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ควรได้รับการวัดความดันโลหิต เพื่อประเมินระดับความดันโลหิตของตนเอง สามารถใช้ในการเฝ้าระวังระดับความดันโลหิต เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันไม่ให้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อไป ตำบลคลองเฉลิม มีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 8,130 คน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งควรได้รับการวัดความดันโลหิตทุกคน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งปัจจุบันประชาชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มนี้ ยังไม่เข้าถึงการวัดความดัน เนื่องจากในชุมชนมีเครื่องวัดความดันโลหิตที่ไม่เพียงพอ และยังไม่มีเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องวัดความดันแบบอุโมงค์ อัตโนมัติซึ่งมีราคาสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนตำบลคลองเฉลิม เข้าถึงการวัดความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

ประชาชนเข้าถึงการวัดความดันเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

0.00
2 ลดอัตราป้วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง

ประชาชนลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 2.50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 10 40,000.00 2 40,000.00
20 มี.ค. 63 จัดตั้งและประชุมคณะทำงาน 10 0.00 0.00
31 มี.ค. 63 จัดซื้อครุภัณฑ์ 0 40,000.00 40,000.00

1 จัดตั้งและประชุมคณะทำงานโครงการ
      2. จัดซื้อเครื่องวัดความดันแบบอุโมงค์ อัตโนมัติ และจัดทำทะเบียนสำหรับผู้รับบริการ โดยมีการแชร์งบประมาณกันระหว่าง องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเฉลิม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ เทศบาลตำบลคลองทรายขาว เพื่อดูและประชาชนในเขตรับผิดชอบของแต่ละพื้นที่       3. จัดทำแนวทางการส่งต่อระหว่าง ธกส. กับ สถานบริการสาธารณสุขตามเขตรับผิดชอบ       4. ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง       5. จัดทำทะเบียนผู้รับบริการ โดยแยกออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย โดยบริการสรุปข้อมูลอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อประเมินระดับความดันโลหิตของกลุ่มเป้าหมาย และส่งต่อให้สถานบริการตามเขตรับผิดชอบ       6. เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลลงติดตามประเมินผลระบบการให้บริการ ปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง       7. รายงานผลการดำเนินงานแก่กองทุนสุขภาพตำบลเดือนละ 1 ครั้ง       8. สรุปผลการดำเนินโครงการแก่หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนตำบลคลองเฉลิม เข้าถึงการวัดความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
      2 อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2563 10:46 น.