กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกัน ควบคุมรักษาและเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (ความดันโลหิตสูง) หมุู่ที่ 10 บ้านในควน
รหัสโครงการ 2563-L3306-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ที่ 10 บ้านในควน
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 5,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุนีย์ ศรีเทพ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองเฉลิม อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.349,99.958place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสำคัญระดับโลก ซึ่งส่งผลคุกคามต่อสุขภาพของประชาชน และการพัฒนาประเทศ จากรายงานองค์อนามัยโลกจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อประมาณ 36 ล้านคน (ร้อยละ 63) โดยประมาณร้อยละ 44 เสียชีวิต ก่อนอายุ 70 ปี สำหรับประเทศไทยถึงแม้จะมีแผนงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ คือ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง แต่การจัดการโรคโรคไม่ติดต่อยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เปรียบเทียบปี พ.ศ.2557– 2561 เท่ากับร้อยละ 22.47, 23.45, 26.71 และ 27.73 ตามลำดับ เพราะเป็นโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม อนามัยส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ปัญหาความเครียด เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้รายรับไม่พอกับรายจ่าย มีปัญหาครอบครัว ปัญหาส่วนตัว และปัญหาในการทำงาน เป็นต้น ซึ่งเมื่อป่วยเป็นโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมและป้องกันได้ ถ้ามีการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องและยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ, ไต, ประสาทตา ซึ่งส่งผลทำให้เกิดโรคกับบุคคลในครอบครัว วิตก กังวล และรับภาระการดูแลผู้ป่วย ผลกระทบต่อชุมชนในกรณีที่มีผู้ป่วย พิการ ทำให้ชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย จากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังดังกล่าว จำนวน 30 คน จากประชากรในชุมชน จำนวน 350 คิดเป็นร้อยละ 9.00 สาเหตุเกิดจากกรรมพันธุ์และพฤติกรรมของประชาชน เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ประกอบกับระบบการป้องกันดูแลเชิงรุกของอาสาสมัครสาธารณสุข ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเครื่องมือที่ช่วยในการคัดกรอง หรือ ทำงานในการควบคุมโรคไม่เพียงพอ ทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 10 บ้านในควน จึงจัดทำโครงการการป้องกัน ควบคุมรักษาและการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ (ความดันโลหิตสูง)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรอง ประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น และค้นหาผู้มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง
  1. ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่ได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 90)
  2. ผู้ที่ตรวจพลความผิดปกติ ร้อยละ 100 ได้รับแจ้งผลการตรวจและแนะนำให้พบเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน เพื่อส่งต่อพบแพทย์
0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการตรวจวัดความดันโลหิตได้ครอบคลุมมากขึ้น
  1. อัตราความพึงพอใจของประชาชนที่ขอรับบริการตรวจวัดความดันโลหิตจาก อสม. (ร้อยละ 80)
0.00
3 เพื่อฟื้นฟูความรู้ อสม. ในการดำเนินการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
  1. ร้อยละของอสม.ที่ได้รับการฟื้นฟูความรู้ ทักษะการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตและการบำรุงรักษา (ร้อยละ 90)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 280 5,500.00 5 5,500.00
24 มี.ค. 63 ประชุมทีม SRRT 200 200.00 200.00
2 - 29 เม.ย. 63 สำรวจกลุ่มเสี่ยงโรคในพื้นที่ 30 0.00 0.00
14 พ.ค. 63 ฟื้นฟูให้ความรู้ 10 5,100.00 5,100.00
16 มิ.ย. 63 - 10 ก.ค. 63 ลงคัดกรองและวัดความโลหิตในกลุ่มเสี่ยง 30 0.00 0.00
18 ส.ค. 63 ประชุมสรุปผล 10 200.00 200.00

1.ประชุมทีม SRRT และมอบหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการ     2.ขั้นดำเนินการ       2.1 จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิต       2.2 อสม. ลงสำรวจกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่เพื่อติดตามวัดความดันโลหิต       2.3 ฟื้นฟูความรู้ด้านการคัดกรองความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดัน
      2.4 ลงคัดกรองและวัดความดันโลหิตในกลุ่มเสี่ยงเพื่อติดตามอาการ หากมีความผิดปกติแนะนำให้พบเจ้าหน้าที่  รพ.สต. หรือพบแพทย์     3. ขั้นประเมินผล
      3.1 ประชุมทีม SRRT เพื่อสรุปผลการดำเนินการ
    4. ขั้นสรุปผลรายงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนหมู่ที่ 10 บ้านในควน ได้รับการคัดกรองความดันโลหิต •    2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามความดันโลหิต
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2563 11:00 น.