กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลระดับหมู่บ้าน/ตำบลที่มีคุณภาพ ด้วยพลัง อสม.ประจำปี 2563 ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 63-L-5235-05-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กุมภาพันธ์ 2563 - 10 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประภาส ขำมาก
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภชัย เผือกผ่อง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นสิ่งสำคัญในการจัดทำแผน เพราะข้อมูลเป็นปัจจัย พื้นฐานสำคัญที่สำคัญที่สุดในการทำแผน ถ้าข้อมูลที่ได้รับถูกต้อง เชื่อถือได้ และตรงประเด็น ก็จะส่งผลให้แผนมีความสมบูรณ์ตรงตามสภาพข้อเท็จจริง แต่ในทางกลับกันถ้าข้อมูลที่ได้รับไม่ถูกต้อง เชื่อถือไม่ได้ และไม่ตรงกับประเด็นของเรื่อง แผนโครงการที่ปรากฏออกมาจะขาดความสมบูรณ์และไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างแท้จริง เมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูล อาจดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้จาก 2 แหล่งคือ 1)ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลทีเก็บข้อมูลได้ตรงตามความต้องการในพื้นที่ ซึ่งได้มาจาการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การทดลอง 2)ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลต่างๆที่มีเก็บหรือรวบรวมไว้ก่อนแล้ว แต่จะมีข้อจำกัดในเรื่องความครบถ้วนสมบูรณ์ เนื่องจากบางครั้งข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ สิ่งที่สำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ 1 )ต้องให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือความต้องการ 2)มีความถูกต้องครบถ้วน 3)มีความน่าเชื่อถือ เพราะฉะนั้นการจัดเก็บข้อมูลของหมู่บ้านให้ได้ถูกต้อง ครบถ้วนนับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะฐานข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน จะเป็นปัจจัยหลักในการทำแผนงานโครงการในการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านได้ตรงกับประเด็นความต้องการของประชาชน และสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทางเครือข่ายข้อมูลข่าวสารตำบลคลองรีเห็นว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง คือผู้เก็บข้อมูลต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูล บุคคลที่เครือข่ายข้อมูลข่าวสารตำบลคลองรีเห็นว่าเหมาะสมในการเก็บข้อมูลของหมู่บ้านคือ อาสาสมัครสารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.)เพราะเป็นแกนนำหลักในด้านสุขภาพและมีหลังคาเรือนที่รับผิดชอบชัดเจน และรับรู้ข้อมูลในพื้นที่อยู่แล้วเพียงแต่ให้มีกระบวนการเก็บข้อมูลที่ชัดเจน และรวบรวมไว้ให้เห็นในภาพรวมของหมู่บ้าน เช่น ข้อมูลด้านการศึกษา ด้านการเกษตร ด้านรายได้-รายจ่ายของครัวเรือน ข้อมูลด้านสาธารณสุขด้านคมนาคมและขนส่ง เป็นต้น เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลมรปะสิทธิภาพ ทางเครือข่ายสุขภาพตำบลคลองรี จึงได้จัดทำโครงการ พัฒนาศูนย์ข้อมูลระดับหมู่บ้าน/ตำบลที่มีคุฯภาพ ด้วยพลัง อสม.ประจำปี 2563 ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศูนย์ข้อมูลในระดับหมู่บ้าน/ตำบลให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ มีความถูกต้องมีความน่าเชื่อถือ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อสม.เป็นผู้จัดเก็บและบริหารจัดการให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

1.ศูนย์ข้อมูลระดับหมู่บ้านมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนทันเวลา ทุกหมู่บ้าน (จำนวน 9 หมู่บ้าน) 2.ศูนย์ข้อมูลระดับตำบล 1 แห่ง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารตำบลคลองรี 2.จัดทำโครงการเพื่อสนองของงบประมาณจากกองทุนประกันสุขภาพระดับตำบลเพื่ออนุมัติโครงการ 3.จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการสำรวจ เก็บและรวบรวมข้อมูล ทำทะเบียน 4.ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าแก่ อสม.ในการจัดการข้อมูล พร้อมแจกแบบสำรวจข้อมูลให้ อสม.ออกเก็บข้อมูลตามหลังคาเรือนที่รับผิดชอบทุกหลังคาเรือน 5.ออกสำรวจข้อมูลโดย อสม. และตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสำรวจให้ถูกต้องครบถ้วน 6.จัดทำทะเบียนข้อมูลของหมู่บ้านให้ครบถ้วนทุกด้าน 7.จัดเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ได้เก็บไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของหมู่บ้าน/ตำบล 8.ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับหมู่บ้านเป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลในการวางแผนงานและจัดทำโครงการของหมู่บ้าน ตลอดจนเป็นแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนให้กับหน่วยงานที่ต้องการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านให้ครบคลุมทุกประเด็นในโอกาสต่อไป
2.อสม.มีศักยภาพในการจัดการข้อมูลในเขตรับผิดชอบของตนเอง และสามารถร่วมกันพัฒนาศูนย์ข้อมูลในระดับหมู่บ้าน/ตำบลให้มีข้อมูลความถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2563 09:46 น.