กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
รหัสโครงการ AB-LSSSS-X-YZ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 508,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวธีราพร ตาดำ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 23 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 508,850.00
รวมงบประมาณ 508,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงได้ด้วยวิธีการป้องกันควบคุมโรคอย่างเป็นระบบถูกวิธีรวดเร็วและด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติมีความสำคัญเพราะนอกจากทำให้เจ็บป่วยเสียชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจในวงกว้างเช่นการเกิดโรคไข้เลือดออกไข้มาลาเรียไข้หวัดนกโรคซาร์ส โรคไข้หวัดใหญ่โรคอุจาระร่วงโรคโควิด-19โรคอื่นที่อุบัติใหม่ และภัยพิบัติเช่นการเกิดอุทกภัยการเกิดหมอกควัน เป็นต้น ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมากและในปัจจุบันโรคติดต่อมีแนวโน้มที่จะพบโรคระบาดบ่อยขึ้น ความรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีโรคชนิดใหม่ ๆ มากขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเห็นได้จากจำนวนบ้านที่มากขึ้น เขตเมืองมีประชากรหนาแน่น และมีชุมชนแออัดขึ้น ประชาชนจึงติดโรคง่ายแต่ป้องกันโรคยากกว่าเดิมการคมนาคมสะดวกรวดเร็วขึ้นทั้งถนนหนทางที่ทันสมัยและการเดินทางโดยเครื่องบินทำให้เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศสามารถเข้าถึงหมู่บ้านเล็ก ๆ ได้ภายในไม่กี่วัน จากเดิมต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือเป็นปีมีแหล่งรังโรคร่วมกันมากขึ้นเช่นกินอาหารที่ร้านเดียวกันซื้ออาหารจากตลาดหรือโรงงานอาหารเดียวกันใช้น้ำจากระบบประปาเหมือนกันไปเรียนในโรงเรียนเดียวกันได้รับควันพิษจากโรงงานแห่งเดียวกันเป็นต้น ทั้งนี้ จังหวัดสงขลา มีสนามบินนานาชาติรวมทั้งยังเป็นรอยต่อระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้มีประชากรในการเดินทางเข้าออกระหว่างประเทศสูง ทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรคได้มากขึ้น งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ จึงตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อตอบโต้ต่อสถานการณ์การเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

มีความพร้อมในการรับมือกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์

มีวัสดุ อุปกรณ์ ในการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/      ภัยพิบัติในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์อย่างเพียงพอ

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง

ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 508,850.00 3 101,558.15
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กรณีเกิดอุทกภัยหรือภัยพิบัติในพื้นที่ 0 142,530.00 101,558.15
1 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 กรณีเกิดหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 0 45,000.00 0.00
5 พ.ค. 63 กรณีเกิดโรคระบาดและโรคอุบัติใหม่ 0 321,320.00 0.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน
    1.1 ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
    1.2 แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ
    1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน
  2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์
  3. ขั้นตอนการดำเนินงาน (เกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ)
    3.1 ประชุมวางแผนการป้องกันและควบคุมกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
    3.2 จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
    3.3 ดำเนินการตามแผนการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ ประชาสัมพันธ์ อบรมให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่
    3.4 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมการเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ
    3.5 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ
    3.6 สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้รับการดูแลกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติ อย่างทั่วถึง
  2. มีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
  3. เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวัง ป้องกันกรณีเกิดโรคระบาด/ภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ และมีความพร้อมสามารถตอบโต้สถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2563 14:34 น.