กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ กินให้ถูกกับโรค ลดการกินยา ห่างไกลโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 63-L5203-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 1 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 29,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคมสันติ์ ปิ่นแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.676,100.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 29,000.00
รวมงบประมาณ 29,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานนับเป็นปัญหาการเจ็บป่วยที่สำคัญและนำมาซึ่งความสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษา มีผลกระทบต่อผู้ป่วยเอง และผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีอาการป่วยเรื้อรังเป็นเวลานาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ นอกจากจะเป็นโรคที่รักษาไม่หายแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่โรคแทรกซ้อนอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคไตเรื้อรัง สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรค คือ "กรรมพันธ์ุ" และ "สิ่งแวดล้อม" ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ขณะที่สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เริ่มต้นตั้งแต่ในครรภ์แม่ แม้กรรมพันธุ์จะเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ แต่ก็สามารถควบคุมปัจจัยเรื่องอาหารและสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันโรคเบาหวานได้ จากผลการวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การควบคุมอาหารอย่างดี รวมไปถึงการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลโดยตรงต่อการป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงทางกรรมพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นการควบคุมโรคเบาหวาน รวมไปถึงป้องกันโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้


จากข้อมูลอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู ปี ๒๕๖๒ พบว่า ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบทั้งหมด ๑๗๑ ราย ได้รับการตรวจภาวะน้ำตาลในเลือดทั้งหมด แต่พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวาน ๕๐ ราย ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ในอนาคต การรักษาโรคเบาหวานโดยการให้ความสำคัญเฉพาะด้านการแพทย์อาจไม่เพียงพอ เพื่อการควบคุมโรคที่สมบูรณ์ ผู้ป่วยต้องได้รับความรู้เรื่องโรค รวมไปถึงความรู้เรื่องโภชนาการและการออกกำลังกายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งได้รับการกระตุ้นการเปลี่ยนพฤติกรรมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอซึ่งถ้าปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดตั้งแต่ระยะต้น ก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยปราศจากโรคแทรกซ้อนได้
ดังนั้นทาง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.ปลักหนูร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักหนู ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน โดยได้จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวาน โดยเน้นกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อให้ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานและญาติผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

๑.ร้อยละ ๘๐ของประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานและญาติผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 ข้อที่ ๒.เพื่อประชากรกลุ่มป่วยและญาติผู้ดูแลมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อนได้

๒.ร้อยละ ๖๐ของประชากรกลุ่มป่วยโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น  และลดภาวะแทรกซ้อนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการ/ขออนุมัติโครงการจากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรม กินให้ถูกกับโรค ลดการกินยา ห่างไกลโรคเบาหวาน       ๒. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยง/ปัจจัยเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ       ๓. จัดเตรียมเอกสาร/ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       ขั้นดำเนินการ ดำเนินการตามกิจกรรม ดังนี้       ๑. ประชุมคณะกรรมการ
      ๒. ประชาสัมพันธ์โครงการแก่แกนนำ ผู้ป่วยเบาหวาน       ๓. จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวานและญาติที่ดูแล       ๔.ติดตามผล ๓ ครั้ง (๑,๓ และ ๖เดือน)
      ๕.ผู้ที่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีที่สุด 3 คน จะมีมอบเกียรติบัตรให้เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการควบคุมน้ำตาลในเลือด       ขั้นสรุปผล ๑. ประเมินผลการทำงานของโครงการ
      ๒. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชากรกลุ่มป่วยเบาหวานและญาติผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒.ประชากรกลุ่มป่วยและญาติผู้ดูแลมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 14:24 น.