กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมการใช้สมุนไพรไทยสาธิตการทำลูกประคบ
รหัสโครงการ 63-L1520-01-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านในปง
วันที่อนุมัติ 11 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 12,832.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธวัช ใสเกื้อ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่าวตง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.862,99.365place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 เม.ย. 2563 30 ก.ย. 2563 12,832.00
รวมงบประมาณ 12,832.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พืชสมุนไพรเป็นผลผลิตจากธรรมชาติ ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เช่น ในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากกว่า 6000 ปี แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนาไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพรให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่างๆที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมาสนใจดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารพืชสมุนไพรหรือนำพืชสมุนไพรที่พบเห็นได้ทั่วไปมาใช้ดุแล ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพตนเองเบื้องต้น นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนควรปฏิบัติดังเช่นบรรพบุรุษของเราที่มีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาเบื้องต้นมานานแล้ว การนำพืชสมุนไพร เช่น พริก ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว มาปลูกไว้รอบๆบ้าน หรือที่มีอยู่ในชุมชนของตนเพื่อเป็นพืชสมุนไพรสามัญประจำบ้านที่สามารถหยิบใช้สอยเมื่อยามจำเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในปงจึงมีกิจกรรมส่งเสริมดูแลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทย ให้เกิดความตระหนักถึงสุขภาพของคนในเขตพื้นที่ทำลูกประคบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำสมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมาหั่นหรือสับ ให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการพอแตกใช้สดหรือทำให้แห้งนำมาห่อหรือบรรจุรวมกันในผ้าให้ได้รูปทรงต่าง ๆ เช่นทรงกลม หมอนสำหรับใช้นาบหรือกดประคบส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ถ้าเป็นลูกประคบสมุนไพรแห้ง ก่อนใช้ต้องนำมาพรมน้ำแล้วทำให้ร้อนโดยนึ่ง ลักษณะทั่วไปของลูกประคบสมุนไพรต้องห่อผ้าปิดสนิทรูปทรงต่าง ๆ ภายในบรรจุสมุนไพรสดหรือแห้งหลายชนิดรวมกัน มีกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพร คุณค่าของสมุนไพรที่มีใช้ในครัวเรือนและประโยชน์ทางยาของสมุนไพรต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ ส่งเสริมให้นักเรียน อนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาไทยต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้สมุนไพรและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

1.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจการใช้สมุนไพรไทย 2.ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมายสามารถทำลูกประคบใช้เองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 50 12,832.00 1 12,832.00
10 มี.ค. 63 - 30 ก.ย. 63 อบรมการใช้สมุนไพรไทยสาธิตการทำลูกประคบ 50 12,832.00 12,832.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ
1. ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อรับทราบนโยบายวัตถุประสงค์ของโครงการ ๒. จัดทำแผนกำหนดวันปฏิบัติงาน 3. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่ม อสม. ทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ 4. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการอบรมการใช้สมุนไพรไทยและการทำลูกประคบสมุนไพรไทย โดยมีวิทยากรเป็นแพทย์แผนไทยมาอบรม
5. ประสานกับพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานอบรมการใช้สมุนไพรไทย 6. ดำเนินการอบรมการใช้สมุนไพรไทยและการทำลูกประคบสมุนไพรไทย ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย 7. อสม. ทำการผลิตลูกประคบสมุนไพรนำไปใช้เพื่อเป็นการขยายตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้ยาสมุนไพรในชุมชน 8. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน 9. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อสม.มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้สมุนไพรและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2.อสม.เป็นแกนนำ ส่งเสริมอนุรักษ์การใช้ยาสมุนไพร และสืบสานภูมิปัญญาไทยในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2563 09:49 น.