กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ บริหารและพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลักหนู ประจำปี 2563
รหัสโครงการ 63-L5203-04-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ สำนักงานเลขาฯกองทุน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลักหนู
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มีนาคม 2563 - 23 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 23 กันยายน 2563
งบประมาณ 48,723.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย ยูโส๊ะ ขะเด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.676,100.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 30 มี.ค. 2563 30 ก.ย. 2563 48,723.00
รวมงบประมาณ 48,723.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 17 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กองทุนหลักประกันสุขภาพ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่             การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วยการจ่ายเงินเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ รวมทั้งอนุกรรมการหรือคณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้งกองทุนฯ เป็นการปฏิบัติงานตามกฎหมาย ระเบียบ ที่ให้อำนาจไว้ในการอนุมัติเสนอข้อคิดเห็น ปรึกษา หารือ ระดมความคิด หาแนวทางแก้ไขปัญหา หาแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของบุคคลในชุมชนให้ดีขึ้น การอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ รวมถึงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์วัสดุสำนักงานที่จำเป็นสำหรับใช้บริหารจัดการเอกสารต่างๆของกองทุน ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารตำบลปลักหนู จึงได้กำหนดจัดทำโครงการจัดการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนูขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของกองทุนให้มีประสิทธิภาพและจัดเก็บเอกสารต่างๆของกองทุนฯ

 

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อความสะดวกในการจัดทำบันทึก เอกสารและจัดทำรายงานต่างๆของกองทุน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 19 48,723.00 0 0.00
1 ต.ค. 62 - 25 มี.ค. 63 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1-3/2563 19 48,723.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดรายการวัสดุ และครุภัณฑ์ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพ กำหนดคุณสมบัติของวัสดุ และครุภัณฑ์ที่จะดำเนินการจัดหา ดำเนินการสืบราคาวัสดุ และครุภัณฑ์ตามรายการ เบื้องต้น
- กิจกรรมพัฒนาบุคลากรกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ปลักหนู             - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดร่างวาระในการประชุม จำนวนคณะกรรมการคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานกำหนดวันประชุมตลอดปีงบประมาณ 2. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปลักหนู 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน - จัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ตามระเบียบของหน่วยงานโดยอนุโลม
            - ติดต่อประสานงานกับคณะกรรมการ เพื่อกำหนดนัดหมายประชุม             - จัดเตรียมค่าใช้จ่ายในการประชุม เช่น ค่าตอบแทนกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวันพร้อมจัดเตรียมสถานที่ในการประชุม 4. จัดทำบัญชีวัสดุและลงทะเบียนครุภัณฑ์เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้ในกิจการของกองทุนฯ
5. จัดประชุมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี , จัดประชุมคณะอนุกรรมการกองทุน/คณะทำงาน อย่างน้อย 4 ครั้ง/ปีสรุปผลการประชุมและมติคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการ/คณะทำงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กระบวนการบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
  2. มีเครื่องอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานที่จำเป็นและเพียงพอต่อการทำงาน
  3. แผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน       4. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด       5. คณะกรรมการกองทุน คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
  4. การเสนอแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 10:25 น.