กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L3031-04-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 202,820.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพรรณี สาโส๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูฮำหมัดนาเซร์ ดอเลาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.67,101.303place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน 38 ประเทศ ข้อมูลวันที่ 25 มีนาคม 2563 เวลา 11.00 น. พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 438,717 ราย เสียชีวิต 19,658 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 860 ราย กลับบ้านแล้ว 70 ราย อาการหนัก 4 ราย เสียชีวิต 4 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 934 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 25 มีนาคม 2563)
สำหรับสถานการณ์ในจังหวัดปัตตานีพบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าในวันที่ 27 มีนาคม มีผู้ป่วยสะสม 41 ราย กลับบ้านแล้ว 11 ราย เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 7 ราย สำหรับสถานการณ์ในอำเภอยะรังมีผู้ป่วยสะสมจำนวน 26 ราย ซึ่งรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลปัตตานี 2 ราย และอยู่โรงพยาบาลยะรัง 13 ราย พบว่าผู้ป่วยอาศัยอยู่ในตำบลดังนี้ ตำบลปิตูมูดี 14 ราย เขาตูม 3 ราย ยะรัง 6 ราย และเมาะมาวี 2 ราย ซึ่งจะเห็นได้ว่าตำบลเมาะมาวีจัดอยู่ในตำบลที่มีกลุ่มผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าวไม่ให้แพร่ระบาดและต้องกำจัดให้หมดไป ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่    หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในพื้นที่ความรับผิดชอบและจำเป็นอย่างมากที่จะต้องจัดตั้งสถานที่ควบคุมและสังเกตุอาการของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (local Quarantine) ในตำบล เมาะมาวี
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวีจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้นเพื่อเป็นมาตรการแก้ไขสถานการณ์
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่

 

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
3 เพื่อจัดตั้งสถานที่ควบคุมและสังเกตุอาการของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (local Quarantine) ในตำบลเมาะมาวี

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 202,820.00 0 0.00
31 มี.ค. 63 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 150,800.00 -
31 มี.ค. 63 จัดตั้งสถานที่ควบคุมและสังเกตุอาการของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (local Quarantine) ในตำบลเมาะมาวี 0 52,020.00 -

1.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2.ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3.จัดตั้งสถานที่ควบคุมและสังเกตุอาการของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (local Quarantine) ในตำบลเมาะมาวี 4. สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนให้ความร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  2. มีวัสดุอุปกรณ์ที่เพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  3. เกิดการประสานงาน และความร่วมมือที่ดีต่อกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  4. มีสถานที่ควบคุมและสังเกตุอาการของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา 2019 (local Quarantine) ในตำบลเมาะมาวี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 16:40 น.