กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
รหัสโครงการ 60-L8018-01-14
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 16 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอัจฉราชูอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ นางประจวบชัยเกษตรสิน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.241,99.753place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2560 31 ส.ค. 2560 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นหนึ่งในประเด็นปัญหาของเยาวชนที่นานาชาติและประเทศไทยให้ความสำคัญ นับตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา อัตราการเกิดของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง จนนำไปสู่การคาดการณ์และเตรียมความพร้อมในการเป็นสังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันกลับมีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าในรอบสิบปีที่ผ่านมา วัยรุ่นหญิงมีอัตราการคลอดที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2555 มีหญิงไทยคลอดทั้งสิ้น 801,777 ราย ในจำนวนนี้เป็นการคลอดของวัยรุ่นหญิงวัยรุ่นหญิงอายุ 15 -19 ปี จำนวน 129,451 ราย หรือคิดเป็นอัตราการคลอดของวัยรุ่นหญิง 53.8 ราย ต่อประชากรวัยเดียวกัน 1,000 ราย เพิ่มขึ้นจาก 31.1 ราย ต่อ 1,000 รายในปี 2543 จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้รับการกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดนโยบายที่มุ่งเน้นการ “บูรณาการ” ทุกภาคส่วน ที่ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจัง เป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553-2557) ที่เน้นการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดี ในกลุ่มประชากรวัยรุ่นและเยาวชนก่อน ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการตั้งครรภ์ การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ในประชากรวัยนี้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งการดำเนินงานแบบบูรณาการในบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กวัยเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์

2 เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น

ไม่พบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นในพื้นที่

3 เพื่อสร้างเครือข่าย เฝ้าระวังปัญหาระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และกลุ่มเพื่อนวัยรุ่น

เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นในพื้นที่

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
    1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
    2. สำรวจกลุ่มเป้าหมายนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนบ้านทุ่งยาวและโรงเรียนทุ่งยาววิทยา
    3. จัดทำแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น
    4. กิจกรรม ละลายพฤติกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม
    5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มเป้าหมาย
    • เรื่องเพศศึกษา
    • ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรที่ขาดการป้องกัน
    • การป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
  2. ประเมินผลความรู้ ก่อน-หลังการอบรม
  3. สรุปผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กวัยเรียนและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์
    1. ไม่พบปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นในพื้นที่
    2. เกิดเครือข่ายเฝ้าระวังปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นในพื้นที่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 13:39 น.