กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ 63-L3341-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี
วันที่อนุมัติ 31 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 มิถุนายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 347,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชีพ รุ่นกลิ่น
พี่เลี้ยงโครงการ นายเสงี่ยม ศรีทวี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนารี อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.191,100.13place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10127 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก จำนวน 195 ประเทศ พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 478,331 ราย เสียชีวิต 21,524 ราย รวมถึงประเทศไทย ที่ขณะนี้พบผู้ป่วยยืนยันสะสม จำนวน 1,045 ราย รักษาหายและแพทย์ให้กลับบ้าน 97 ราย อยู่ระหว่างการรักษาพยาบาล 944 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่เสียชีวิต 4 ราย ผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการรุนแรง 12 คน(ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2563 เวลา 20.00 จากศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค) จังหวัดพัทลุงส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 48 ราย ไม่พบเชื้อ 42 ราย พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อ จำนวน 6 ราย (ข้อมูลจากจังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563) อำเภอป่าบอน พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2 รายและในพื้นที่ตำบลทุ่งนารี พบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน ๑ ราย ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งนารี และพื้นที่ใกล้เคียงเกิดความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพื่อลดความวิตกกังวล จึงจำเป็นที่ต้องให้ประชาชน ทราบวิธีการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง เรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ ตำบลทุ่งนารี จำนวน 10,127 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 3,493 ครัวเรือน และคาดว่ามีประชากรแฝงประมาณ 500 คนในเขตพื้นที่
    การป้องกันและการบรรเทาสาธารณภัย และการป้องกันและบำบัดรักษาโรค เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
    เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างทั้งนี้ ตำบลทุ่งนารีมีประชาชนที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดและต่างประเทศ และต้องเก็บกักตัวเพื่อเฝ้าระวังโรค จำนวน 150 ราย (ข้อมูลจากรพ.สต.ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งนารี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 )และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) จำเป็นต้องมีการดำเนินการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน วัด หน่วยราชการ และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ตำบลทุ่งนารี อำเภอ ป่าบอน จังหวัดพัทลุง องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี ร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลทุ่งนารี ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอป่าบอน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ตำบลทุ่งนารี ซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป ซึ่งการดำเนินงานการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ขาดวัสดุการแพทย์และการสาธารณสุขในการบริหารจัดการ องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนารี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตำบลทุ่งนารีขึ้น เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

ร้อยละ 90 ของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ในการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1.00
2 ประชาชนกลุ่มเฝ้าระวังได้รับการดูแล เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้างได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100  ในพื้นที่ไม่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

1.00
3 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการสนับสนุนเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

ร้อยละ100 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้รับการสนับสนุนเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

1.00
4 เพื่อพ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 80 ของพื้นที่เสี่ยงได้รับการพ่นฆ่าเชื้อ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 20454 347,375.00 4 308,420.00
1 - 30 เม.ย. 63 ให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 10,127 36,200.00 12,000.00
3 - 30 เม.ย. 63 การตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงและติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและให้ความรู้เรื่องการดูแลตนเองและทำความสะอาดบ้าน - บ้านกลุ่มเสี่ยง - สถานที่แออัดในชุมชน -รพ.สต.ในพื้นที่ 3 แห่ง - 9 หมู่บ้าน 10,127 92,025.00 244,620.00
3 เม.ย. 63 จัดซื้อแอลกอฮอล์เจล และหน้ากากผ้าสำหรับแจกจ่ายประชาชน กลุ่มเสี่ยง สถานที่เสี่ยง -ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง 53 ราย -วัด 5 แห่ง -มัสยิด 1 แห่ง -หน่วยงานราชการ 4 แห่ง -อสม.ควบคุมโรค 9 หมู่บ้าน 200 174,800.00 20,800.00
3 - 30 เม.ย. 63 พ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดสถานที่เสี่ยงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - 9 หมู่บ้าน - บ้านกลุ่มเสี่ยง - สถานที่แออัดในชุมชน 0 44,350.00 31,000.00

1.วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 3.ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงาน ขั้นตอนดำเนินงาน
  - วัสดุ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ปรอทวัดไข้ เทอร์โมสแกน น้ำยาทำความสะอาด ชุดอุปกรณ์ป้องกันโรค และถุงใส่ขยะติดเชื้อ เป็นต้น ๕.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในพื้นที่ ๖. ออกติดตามเฝ้าระวัง ประชาชนที่เดินทางจากต่างพื้นที่หรือผู้สัมผัสโรค ทุกวันครบ ๑๔ วัน 1. ๗. ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงาน ผู้นำชุมชน และกลุ่มองค์กรต่างๆ เช่น รพ.สต., อสม., กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ   - ร่วมกับ อสม. และ เจ้าของบ้านในการทำความสะอาดบ้านเรือนและเสื้อผ้า ๘. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 (COVID-19) โดยการคัดกรองประชาชนในชุมชน ด้วยเทอร์โมสแกน อุณหภูมิ
๙.สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างถูกต้อง
  2. ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2563 13:49 น.