กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตำบลปันแตร่วมใจ รณรงค์คัดแยกขยะ
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 19 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 36,255.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารุณี แก้วมาก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 36,255.00
รวมงบประมาณ 36,255.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญและทุกคนจะต้องร่วมมือกัน    เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชุมชนทุกระดับชั้น ลักษณะของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการจัดการขยะไม่ถูกวิธี หรือมีขยะมากจนไม่สามารถดำเนินการจัดเก็บ หรือเก็บขน หรือกำจัดให้หมดในวันเดียว  ขยะจึงตกค้างในชุมชน ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การเพิ่มอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ทำให้ปริมาณขยะเพิ่มขึ้นและเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ชุมชนหมู่ที่ 6 บ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 227 ครัวเรือน นับเป็นอีกชุมชนหนึ่งที่ประสบปัญหาการจัดการขยะในชุมชน จากการสำรวจปริมาณขยะของชุนบ้านในไร่ ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง พบว่า มีปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนประมาณ 6 กิโลกรัม/สัปดาห์ แยกชนิดเป็นขยะแห้ง 2 กิโลกรัม ขยะเปียก 3.8 กิโลกรัม และขยะอื่น ๆ 0.2 กิโลกรัม จากการที่ประชาชนยังขาดความรู้ขาดแนวทางการจัดการขยะที่ถูกต้อง จึงทำให้มีปัญหาขยะเพิ่มขึ้นมากขึ้น โดยจากผลการศึกษาของชุมชนพบว่า ครัวเรือนส่วนใหญ่คัดแยกขยะไม่ถูกวิธี ขยะก็จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ซึ่งพบว่าครัวเรือนมีแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคต่าง ๆ ร้อยละ 93.12 ซึ่งส่งผลกระทบกับคนในครอบครัว เช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งพบว่าในชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6  บ้านในไร่ มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งโรคไข้เลือดออกนั้นมีความรุนแรงที่อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้
ทางชุมชนบ้านในไร่ หมู่ที่ 6 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการจัดการขยะในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้/ความตระหนัก และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดขยะที่ถูกต้องตลอดจนลดปริมาณขยะในชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่ชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้การคัดแยกขยะในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว เมื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่ขั้นตอนปฏิบัติระดับบุคคล และครอบครัว โดยการคัดแยกขยะตามประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย โดยมีการจัดตั้งศูนย์คัดแยกขยะรีไซเคิล การผลิตน้ำหมักจากขยะอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษผักและเศษอาหาร เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่เพื่อทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญชุมชนมีกฎกติกาด้านการลดขยะที่เริ่มจากตัวเรา จะเป็นตัวปลูกฝังระดับปัจเจกบุคคล หากมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ย่อมเกิดผลให้ชุมชนมีปริมาณขยะที่ลดน้อยลง สามารถเป็นชุมชนนำร่องด้านการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามนโยบายเมืองพัทลุง เมืองสีเขียว ต่อไปและลดปัญหาของโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80

1.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

จำนวนประชาชนที่มีพฤติกรรมแยกขยะถูกต้อง(ครัวเรือน)

50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ชุมชนมีความรู้และตระหนักในการจัดการขยะ 2.เพื่อให้ครัวเรือมีการคัดแยกขยะและใช้ประโยชน์จากขยะ 3.เพื่อลดปริมาณขยะในชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อเพิ่มจำนวนครัวเรือนในการแยกขยะ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 63 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผน ดำเนินงานร่วมกัน 25.00 625.00 -
5 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะ ในชุมชน 25.00 715.00 -
8 มิ.ย. 63 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง 0.00 0.00 -
8 มิ.ย. 63 ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย 0.00 0.00 -
1 ก.ค. 63 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ 55.00 16,000.00 -
10 ก.ค. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน 55.00 6,125.00 -
28 ส.ค. 63 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” 100.00 2,500.00 -
28 ส.ค. 63 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎกติกาของชุมชน ขอมติและประกาศใช้ในชุมชน 60.00 3,900.00 -
31 ส.ค. 63 ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ 0.00 4,030.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1 จัดเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจโครงการและวางแผนดำเนินงานร่วมกัน -แบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานร่วมกัน -กำหนดแผนการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม -ติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ

กิจกรรมที่ 2 ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างแบบสอบถามและจัดเก็บข้อมูลการจัดการขยะในชุมชน -เก็บข้อมูลครอบคลุมตามแบบสำรวจ -แบ่งหน้าที่การจัดเก็บข้อมูลในพื้นที่ กิจกรรมที่ 3 สำรวจและจัดเก็บข้อมูลปริมาณขยะก่อนและหลังดำเนินการ รวม 2 ครั้ง -สำรวจข้อมูลขยะครัวเรือน -รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล กิจกรรมที่ 4 ประชุมครัวเรือนชี้แจงโครงการเปิดรับสมัครครัวเรือนเป้าหมาย -คณะทำงานเข้าร่วมประชุมประจำเดือนชี้แจงโครงการ -เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้ครัวเรือนนำร่องในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้ประโยชน์ -การคัดแยกขยะ -การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ -การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากมูลสัตว์ -ทำตะกร้าลดโรคร้อน กิจกรรมที่ 6 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง -เก็บกวาดขยะในชุมชนให้เป็นชุมชนที่มีความสะอาดไม่มีขยะตามที่สาธารณะ -รณรงค์การใช้ตะกร้าไปจ่ายตลาด-รณรงค์การคัดแยกขยะ -ใช้สื่อทางหอกระจายข่าวของหมู่บ้านประชาสัมพันธ์


กิจกรรมที่ 7 เวทีสรุปบทเรียนคืนข้อมูลให้กับชุมชน มหกรรม “ชุมชนสุขภาวะ ปลอดขยะ” -แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจากตัวแทนครัวเรือนนำร่องในชุมชน -จัดบูธนำเสนอครัวเรือนต้นแบบที่ได้จากการประกวดให้ชุมชนทราบ -ประกาศผลรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากขยะ -จัดบูธนำเสนอการดำเนินงานทุกกิจกรรมที่ผ่านมา กิจกรรมที่ 8 จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อวางมาตรการในการลดการนำขยะในชุมชน เพื่อยกร่างกฎ -ร่วมกำหนดมาตรการชุมชน - กำหนดจุดรวบรวมขยะเพื่อนำไปขาย กิจกรรมที่ 9ประกวดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการขยะ -คณะทำงานกำหนดเกณฑ์การประกวด - ลงพื้นที่ประเมินครัวเรือน - ตัดสินการประกวด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 50 ครัวเรือน 2.ครัวเรือนสามารถลงมือปฏิบัติบันทึกระบุวิธีการคัดแยกขยะได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 50 ครัวเรือน 3.ครัวเรือนไม่น้อยกว่า 50 หลังคาเรือนมีการคัดแยกขยะ 4.มีครัวเรือนต้นแบบเกิดขึ้นอย่างน้อย 10 ครัวเรือน 5.มีการรวบรวมขยะส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง 6.ชุมชนมีการกำหนดข้อตกลงร่วมกัน อย่างน้อย 3 เรื่่อง 7.ปริมาณขยะในชุมชนหลังดำเนินการน้อยกว่าก่อนดำเนินการ ร้อยละ80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2563 14:37 น.