กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำรับหผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
รหัสโครงการ 60-L2479-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด อบต.บูกิต
วันที่อนุมัติ 6 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 69,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแวดอเลาะยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 34 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในทศวรรษที่ ๓-๔ ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย ซึ่งจากการคาดประมาณประชากรของประเทศไทย ปี ๒๕๕๓ – ๒๕๘๓ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ ๒๕๕๓ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นฐานในการประมาณ พบว่า ในปี ๒๕๘๓ ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ ๖๐ปีขึ้นไป สูงถึงร้อยละ ๒๐.๕ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ ๓๒ ของประชากรไทยทั้งหมดโครงสร้างของประชากรไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการลดลงของประชากรกลุ่มวัยแรงงานจะกระทบศักยภาพการผลิต นอกจากนี้ การเพิ่มของประชากรผู้สูงอายุยังสะท้อนการเพิ่มขึ้นของภาระทางการคลัง จากจำนวนประชากรที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ นอกเหนือจากปัญหาด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุยังเผชิญปัญหาสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ และระบบการดูแลที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงความมั่งคงทางรายได้ โดนเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน นอกจากนี่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการพัฒนาทักษะทั้งในการทำงาน และการดำเนินชีวิตในสังคมให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพยังไม่มีส่วนร่วมในการทำงานและการพัฒนาประเทศเท่าที่ควร
จากการสำรวจและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุพื้นที่ ตำบลบูกิต มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ในตำบลบูกิต จำนวน ๑,๖๐๙ คนการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ พบว่าเป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคม จำนวน ๑,๕๘๙ คน (ร้อยละ ๙๘.๗๖) กลุ่มติดบ้าน จำนวน ๑๗ คน (ร้อยละ ๑.๐๖) และกลุ่มติดเตียง จำนวน ๒ คน (ร้อยละ๐.๑๓) ซึ่งปัญหาผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง คือการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพด้วยความยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลของชุมชนในการออกเยี่ยมดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะที่ต้องได้รับการดูแล จึงต้องมีการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดี หรือมีสุขภาพดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยพึ่งพาน้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงรู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
ดังนั้น การเตรียมการเพื่อรองรับสภาพปัญหาของผู้มีภาวะพึ่งพิงจึงเป็นประเด็นสำคัญของตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้องจังหวัดนราธิวาส ทาง สำนักปลัด อบต.บูกิต ร่วมกับสสอ.เจาะไอร้อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านไอสะเตีย และโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบ้านปีแนมูดอ และ โรงพยาบาลเจาะไอร้องตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาวะพึ่งพิงจึงได้จัดทำโครงการโครงการพัฒนาระบบการดำเนินงานดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.จำนวน Care giver ผ่านการอบรมร้อยละ ๑๐๐

 

2 ๒.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ร้อยละ ๑๐๐

 

3 ๓.กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care Plan) ร้อยละ ๑๐๐

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ ๑ จัดอบรม Care giver หลักสูตร ๗๗ ชั่วโมง จำนวน ๒๘ คน ระยะเวลาฝึกอบรม ๑๑ วัน - จัดการอบรมระยะแรก ภาคทฤษฎี จำนวน ๓ วันลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลและในชุมชนจำนวน ๓ วัน
- จัดการอบรมระยะที่ ๒ ภาคทฤษฎีจำนวน ๑ วัน ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลและในชุมชนจำนวน ๓ วัน
- กิจกรรมการอบรม ประเมินความรู้และทักษะของ Care giver ก่อน – หลังการอบรมประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้มีภาวะพึ่งพิงจัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care giver และ สนับสนุนการดำเนินงานของ Care giver กิจกรรมที่ ๒ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Conference โดยทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย จัดประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนการทำงานการดูแลระยะยาวในพื้นที่เพื่อการพัฒนาการดำเนินงานการดูแล ระยะยาวที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ กิจกรรมที่ ๓ การประเมินความรู้และทักษะของ Care giver - ประชุมทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย วางแผนการลงเยี่ยม สรุปแนวทางการลงประเมินในพื้นที่ - ให้บริการบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ๔ กลุ่ม โดยการลงเยี่ยมบ้าน คัดกรองประเมินสภาพผู้สูงอายุ วางแผนการดูแล โดยจัดทำแผนรายบุคคล (Care Plan)
- จัดทำ Care Conference ในพื้นที่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องได้รับการดูแลจากหลายหน่วยงาน - ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง - ประเมินความพึงพอใจผู้สูงอายุ/ญาติที่ได้รับการเยี่ยม - สรุปผลการเยี่ยมบ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ๒. บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถปฏิบัติต่อผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 17:06 น.