กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตำบลมะกรูด
รหัสโครงการ 63–L2985-05-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัดเทศบาลตำบลมะกรูด
วันที่อนุมัติ 8 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 เมษายน 2563 - 31 กรกฎาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 83,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุรัยณี เจ๊ะบือราเฮง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลก้อเดช โต๊ะยะลา
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 เม.ย. 2563 31 ก.ค. 2563 83,400.00
รวมงบประมาณ 83,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ในประเทศไทย ข้อมูล วันที่ 1 เมษายน 2563 เวลา 13.00 น. พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 1,771 ราย กลับบ้านแล้ว 416 ราย รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 1,343 ราย เสียชีวิต 12 ราย (ข้อมูลจาก : ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข) ในจังหวัดปัตตานี พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 44 ราย กลับบ้านแล้ว 19 ราย รักษาตัวอยู่โรงพยาบาล 23 ราย เสียชีวิต 1 ราย และในอำเภอโคกโพธิ์ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 3 ราย (ข้อมูล : ศูนย์สื่อสาร COVID-19 จังหวัดปัตตานี) ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกจากมาตรการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่แล้ว การทำความสะอาด และการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโรคโควิด 19 แก่มัสยิด วัด หน่วยราชการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก สถานประกอบการ และชุมชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลตำบลมะกรูด จึงเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่ช่วงเฝ้าระวังและควบคุมเชื้อโรคได้ เทศบาลตำบลมะกรูด จึงจำเป็นต้องมีการมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ตำบลมะกรูด

วัด มัสยิด หน่วยงานราชการ และสถานที่สาธารณะในเขตพื้นที่ตำบลมะกรูด ได้รับการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอต่อสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

มีอุปกรณ์ และเครื่องมือที่จำเป็นในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 83,400.00 1 83,400.00
13 เม.ย. 63 - 31 ก.ค. 63 กิจกรรมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 0 83,400.00 83,400.00
  1. ขั้นตอนวางแผนงาน

- ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและ รูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลมะกรูด 2. ขั้นตอนการดำเนินงาน 2.1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2.2 กิจกรรมดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามมัสยิด วัด หน่วยงานราชการ สถานที่สาธารณะในเขตพื้นที่ตำบลมะกรูด 2.3 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3. ขั้นตอนสรุปผล - สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่
  2. ประชาชนในพื้นที่ตำบลมะกรูด ได้รับการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019
  3. เกิดการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2563 10:49 น.