กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ ลดโรค ลดขยะและรายได้ โรงเรียนตาดีกาตำบลบูกิต
รหัสโครงการ 60-L2479-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมครูตาดีกาตำบลบูกิต
วันที่อนุมัติ 5 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะยาซี บูละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 170 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปริมาณขยะในโรงเรียนนับเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข และหนึ่งในผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างมลพิษทางขยะก็มาจาก บุคลากร และนักเรียน โรงเรียนตาดีกาในตำบลบูกิต มีทั้งหมด ๑๗ แห่งจำนวนบุคลากร125 คน และนักเรียน จำนวน 1,983 คน ส่งผลให้ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในด้านต่างๆ ของบุคลากรและนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดตั้งภาชนะถังขยะรองรับตามจุดต่างๆ โดยขยะภายในอาคารเรียนให้บุคลากรประจำอาคารเป็นผู้จัดเก็บ ส่วนขยะจากพื้นที่อื่นๆ โดยรอบโรงเรียนให้บุคลากรพื้นที่จัดเก็บก่อนที่ทางอบต.จะมารวบรวม เพื่อไปกำจัดทิ้งภายนอก และในการทิ้งขยะภายในโรงเรียนทั้งที่ยังไม่มีการคัดแยกประเภทขยะที่ชัดเจนแต่อย่างใด ทำให้ปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดมีมากขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวอาจทำให้ส่งผลกระทบต่อการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนในอนาคตได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับบุคลากรและนักนักเรียน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ ความสำคัญของการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม ปลอดโรคต่างๆที่จะเกิดในโรงเรียนและให้น่าอยู่ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันเก็บแยกขยะซึ่งเป็นการแสดงความมีจิตสาธารณะทำเพื่อส่วนรวมตั้งแต่เยาว์วัย และพัฒนาเป็นเยาวชนที่มีคุณธรรม เป็นคนดีของสังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต ซึ่งในการจัดทำโครงการสร้างแกนนำสุขภาพ ลดโรค ลดขยะและสร้างรายได้โรงเรียนตาดีกาตำบลบูกิต จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไป ชมรมตาดีกาตำบลบูกิต จึงได้จัดทำ โครงการสร้างแกนนำสุขภาพ ลดโรค ลดขยะ และสร้างรายได้โรงเรียนตาดีกาตำบลบูกิต ประจำปี ๒๕๖๐ ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้บุคลากรและนักเรียนมีความรู้ในการดำเนินการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี

 

2 2 เพื่อสร้างแกนนำในการปลูกจิตสำนึกในด้านการรักษาความสะอาด

 

3 3 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรและนักเรียนเกิดความตระหนักถึงผลเสียที่จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย หากมีการจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสม

 

4 4 เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนมีประสิทธิภาพ

 

5 5 โรงเรียนสะอาดมีขยะตามพื้นลดน้อยลง และมีรายได้จากการขายขยะ

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๒.๑ ขั้นตอนการเตรียมการ - ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ - จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติขั้นตอน - แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ - จัดทำเอกสาร/แผ่นผับประชาสัมพันธ์โครงการ - รับสมัครแกนนำสุขภาพ ในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ๕ โรงเรียนละ ๑๐ คน - คัดเลือกบุคลากร โรงเรียนละ 2 - 3 คน 2.๒ ขั้นตอนการดำเนินการ 2.๒.๑ดำเนินการจัดอบรมกิจกรรมที่ ๑
- ประเมินความรู้ก่อนการอบรม - อภิปรายกลุ่มปัญหาที่เกิดจากขยะ - อบรมให้ความรู้ เรื่องการแยกขยะ โรคร้ายที่มาจากขยะ การสร้างรายได้จากขยะ - ประเมินหลังการอบรม - มอบเกียรติบัตรให้แก่แกนนำสุขภาพ 2.๒.๑ดำเนินการจัดอบรมกิจกรรมที่ ๒ ลดโรค ลดขยะ และสร้างรายได้จากขยะ - แต่งตั้งคณะกรรมการในโรงเรียน - ให้แกนนำสุขภาพ ให้ความรู้เรื่องการแยกขยะ โรคร้ายที่มาจากขยะ การสร้างรายได้จากขยะเพื่อปลูกจิตสำนึก และลงมือการรักษาความสะอาดของสภาพแวดล้อม ก่อนและหลังเรียน อาทิตย์ละ ๒ วัน เป็นเวลา ๔ เดือน
- จัดทำสถานที่เก็บขยะรีไซเคิล - จัดทำตะแกรงแยกขยะ - การจัดป้ายความรู้การแยกขยะภายในโรงเรียน 2.๒.๑ดำเนินการกิจกรรมที่ ๓เปลี่ยนขยะเป็นรายได้ - จำหน่ายขยะรีไซเคิล เดือนละครั้ง
- ทำบัญชีรายรับประจำเดือน ทุกโรงเรียน ๑๗ แห่ง - สรุปรายเดือนให้นักเรียนทราบทุกครั้ง และประกาศชมเชยโรงเรียนที่ทำได้ดีหน้าเสาธง ๒.๓ ประเมินผลและสรุปรายงานผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนมีความรู้ในการรักษาความสะอาด รู้จักเก็บขยะ และทิ้งขยะถูกที่ 2 นักเรียนได้ใช้เวลาว่างทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 3 ได้แนวทางและรูปแบบการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสุขภาพของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
4 นักเรียนและประชาชนเกิดแนวที่ดีต่อการจัดการขยะมูลฝอย และเข้าใจคุณค่าของสิ่งต่างๆ ว่าวัสดุบางประเภทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายครั้งหรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ 5 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบในการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจากภูมิปัญญาของบุคลากรหน่วยงานและองค์กรในท้องถิ่น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 17:49 น.