กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเชิงรุก (DPAC) (63-l4123-01-17)
รหัสโครงการ 63-l4123-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี
วันที่อนุมัติ 27 มีนาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 30 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 27,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรูฮาณี ยายา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

พฤติกรรมและวิถีชีวิตมีผลอย่างมากต่อสุขภาวะของมนุษย์ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆของแต่ละบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยของบุคคลนั้น ๆ จากสถานการณ์ของคนตำบลตลิ่งชันในปัจจุบันพบว่า โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้น ๆ ปัจจุบันคนตำบลตลิ่งชันมีภาวะอ้วนลงพุงมากขึ้นจากพฤติกรรมบริโภคอารหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มขึ้นรับประทานผักผลไม้น้อยลงและขาดการออกกำลังกาย ในปี 2562 ผลการสำรวจภาวะอ้วนลงพุงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,996 คนของ รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี พบว่า เพศชายมีรอบเอวเกิดน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 42 และเพศหญิงมีรอบเอว 80 เซนติเมตร ร้อยละ 24 ข้อมูลจาก JHCIS ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้กลุ่มเสี่ยง จำนวน 100 คน ได้รับการตรวจสุขภาพพื้นฐาน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ 2ส ดังนั้น รพ.สต.บ้านตะบิงติงงี ร่วมกับ อสม. ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเชิงรุก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันและเบาหวานเร้อยละ 90

100.00 90.00
2 กลุ่มเสี่ยงได้รับการวัดความดันที่บ้านปกติ

ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการวัดความดันที่บ้านปกติ

100.00 50.00
3 อสม. สามารถเยี่ยวติดตามกลุ่มเสี่ยงได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม. มีพฤติกรรมดูแลตนเองได้ถูกต้อง

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,800.00 0 0.00
1 เม.ย. 63 - 30 ส.ค. 63 เคาะประตูบ้าน 0 6,300.00 -
1 เม.ย. 63 - 30 ส.ค. 63 เยี่ยมบ้าน 0 21,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดัน และเบาหวาน ปีละ 1 ครั้ง 2.ร้อยละ 50 ของกลุ่มเสี่ยงได้รับการวัดความดันที่บ้านปกติ 3.กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดพุงได้ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 09:30 น.