กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและใส่ใจผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
รหัสโครงการ 60-L2479-2-31
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเชอร์รี่
วันที่อนุมัติ 6 เมษายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,725.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสีตีกูโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.182,101.828place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เอดส์เป็นโรคที่เมื่อได้ยินแล้ว ผู้คนจะหวาดกลัว และแยกตัวเองออกจากผู้ติดเชื้อ โดยเกรงว่าจะทำให้ตัวเองติดเชื้อไปด้วย ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่าเชื้อเอดส์ไม่ใช่โรคที่ติดต่อกันง่าย โดยเพียงการใกล้ชิด สัมผัสเนื้อตัว หายใจรดกัน หรือกินอาหารร่วมกัน แต่เอดส์ติดต่อจากเพศสัมพันธ์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่พฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้ ผู้คนบางกลุ่มยังคงประพฤติปฏิบัติ เป็นเหตุให้เชื้อเอดส์แพร่กระจายอย่างไม่หยุดยั้ง การตีตราก็ยังคงมี เพราะผู้คนไม่กล้าเข้าใกล้ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ ให้อยู่ตามลำพัง ไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่างๆบางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป ประเทศไทยเริ่มการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์มา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ขณะนั้นเป็นการให้ยาชนิดตัวเดียว (Mono therapy) และสองชนิด (Dual therapy) ต่อมาในปี พ.ศ.2543 จึงได้เริ่มโครงการใช้สูตรยาสามชนิด (Triple therapy) ปี พ.ศ.2545 องค์การเภสัชกรรมสามารถผลิตยา ต้านไวรัสเอดส์เองได้หลายชนิดทั้งแบบรวมเม็ด และแยก เม็ด กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดเป็นนโยบายในการ ให้ยาสูตรยาสามชนิด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา การให้ยาต้านไวรัสสามชนิดแก่ผู้ป่วยเอดส์ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ ซึ่งแต่เดิมเคยเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงรักษาไม่ได้ เปลี่ยนสภาพเป็นโรคเรื้อรัง ที่สามารถให้มีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นเดียวกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ความสำคัญของการบำบัดรักษา คือคนไข้ต้อง กินยาอย่างถูกต้อง ถูกวิธี และตรงเวลาทุกครั้งอย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต จากสถิติพบว่าถ้ากินยาถูกต้องมากกว่าร้อยละ 95 ประสิทธิผลการรักษาเท่ากับร้อยละ 78 แต่ถ้ากินยาถูกต้องในระดับร้อยละ 80-94.9 ประสิทธิผลการรักษาลดลงเหลือเพียงร้อยละ 39 การดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ต้องดูแลด้านจิตใจควบคู่กับการกินยา ตำบลบูกิตมีจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ทั้งหมด 74 คน เสียชีวิต 25 คน ยังมีชีวิตปัจจุบัน49 คน แกนนำผู้ติดเชื้อได้เห็นความสำคัญในการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ และเป็นการเปิดโอกาสให้เข้าถึงบริการด้านต่างๆ เช่น ยาต้านไวรัส รวมทั้งการให้ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้มีชีวิตยืนยาว และวางแผนชีวิตก่อนจะเสียชีวิตเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ติดเชื้อ ดังนั้นแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงได้จัดทำ โครงการห่วงใยและใส่ใจผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ตำบลบูกิต ประจำปี 2560 ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรในท้องถิ่นต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อสร้างกำลังใจให้กับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้เห็นคุณค่าของชีวิตและพร้อมที่จะดำรงชีวิตต่อไป

 

2 2 ผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีความเข้าใจในปัญหาและพร้อมในการเผชิญและแก้ปัญหาด้วยตนเอง รวมทั้งการวางแผนในอนาคตไว้ด้วย

 

3 3 ผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือด้านสังคมและการคุ้มครองสิทธิตามความเหมาะสม

 

4 4 ผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์มีความเข้าใจและเข้าถึงบริการรักษาที่มีมาตรฐาน

 

5 5 ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ปฏิบัติตนเองเพื่อให้มีสุขภาพใกล้เคียงหรือเท่าปกติได้นานที่สุดและส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อรายอื่นได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติในหลักการ
2 ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะกรรมการกลุ่ม 4 จัดทำแผนปฏิบัติการงานโครงการ
5 จัดอบรมสร้างความเข้าใจเรื่องเอชไอวี/เอดส์ มีทั้งหมด 5 กิจกรรม คือ
5.1.กิจกรรมเรียนรู้เข้าใจเอดส์ 5.2 กิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่าง HIVกับ CD4 และ ยาต้านไวรัส
5.3 สิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์
5.4 กิจกรรมระดับเสี่ยง
5.5 กิจกรรมคำถามและข้อสงสัยเกี่ยวกับเอชไอวี/เอดส์ 6 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อให้กำลังใจโดยแกนนำผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์และเจ้าหน้าที่ 7 รวบรวมข้อมูลและรวมแก้ไขปัญหาที่พบกับผู้ดูแลและผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์

8 ประเมิลผลโครงการ/สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
2 ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในโรงเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากยาเสพติดได้ 3 เด็กมีภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดและใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬาไม่ยุ่งเกี่ยวยาเสพติด 4 เด็กนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดความรู้ขยายผลไปยังผู้ใกล้ชิดในครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนใกล้เคียง 5 คณะครูในโรงเรียน ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในโรงเรียนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม 6 ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาและชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 18:14 น.