กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รหัสโครงการ L4137-63-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 13 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2563 - 31 พฤษภาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 54,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ สุชาดา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพร่อน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.563,101.229place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2563 31 พ.ค. 2563 54,200.00
รวมงบประมาณ 54,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 5400 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 มาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข  ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก รวม 195 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Diamond Princessและ เรือ Grands Princess ในวันที่ 25 มีนาคม จำนวน 478,331 ราย มีอาการรุนแรง 14,797 ราย เสียชีวิต 21,524 ราย โดยประเทศที่มียอดผู้ป่วยยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน 81,769ราย (รวม ฮ่องกง 453 ราย มาเก๊า 31ราย)อิตาลี 74,386 ราย สหรัฐอเมริกา 68,573 ราย สเปน 49,515 ราย เยอรมนี 39,355 ราย อิหร่าน 29,406 ราย ฝรั่งเศส 25,233 ราย สวิสเซอร์แลนด์ 11,027 ราย สหราชอาณาจักร 9,529 ราย และ เกาหลีใต้ 9,241 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 1,034 ราย กลับบ้านแล้ว 97 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้ป่วยในประเทศไทย รวมสะสม 1136 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 27 มีนาคม 2563) และจังหวัดยะลามีผู้ป่วยสะสม จำนวน 26 ราย รักษาหาย 2 ราย สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน พบว่ามีผู้ที่เดินทางกลับมาจากประเทศมาเลย์เซีย จำนวน 54 รายซึ่งจำเป็นจะต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่ความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีความประสงค์จะดำเนินโครงการดำเนินการโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ 1. ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 67 (3) องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัวและการรักษาพยาบาล
2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 หมวด 5 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ข้อ 13 เมื่อเกิดโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด หรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคดังกล่าวในเขตพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นดำเนินการหรือสนับสนุนให้มีการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคนั้น หรือสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ การช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติการตามนโยบายและแผน การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ , ข้อ 14 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดโรคหรือมีเหตุสงสัยได้ว่าเกิดโรคตามข้อ 13 ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรค โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการหรือสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ข้อ 15 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ดังนี้ (1) ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยางหรือหนังผ้าปิดปากหรือปิดจมูก รองเท้ายางหุ้มส้นสูงใต้เข่า (รองเท้าบู๊ต) หรือเสื้อกันฝน (2) เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด
/3. หนังสือกระทรวง..... -2- 3. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 1552 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 4. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 1602 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2563 เรื่อง ยกเว้นการใช้จ่ายเงินสะสมในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 5. หนังสือด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว1727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 6. เรื่องมาตรการป้องกัน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
7. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) 0405.2/ว115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการกรณี การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์หรือการจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) 8. หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) 0433.2/ว120 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางการดำเนินการกรณี จัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) 9. คำสั่งอำเภอเมืองยะลา ที่ 199/2563  เรื่องจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 10. คำสั่งอำเภอเมืองยะลา ที่204 /2563 เรื่องแต่งตั้งคณะทำงาน (ทีมดำเนินการ) คัดกรอง แยก กักกัน คุมไว้สังเกต 11. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ข้อ 91 ภายใต้บังคับข้อ 89 ในกรณีฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้น ให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ตามความจำเป็นในขณะนั้น โดยให้คำนึงถึงฐานะการเงิน การคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น 12 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 79 วรรคสอง การซื้อหรือจ้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม 13. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นดำเนินงานและการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่3) พ.ศ.2563 14. หนังสือด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 2120 ลงวันที่ 9 เมษายน 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือประชาชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ดังนั้น จึงต้องมีมาตรการดำเนินการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้

0.00
2 2 . เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,200.00 1 47,800.00
1 เม.ย. 63 - 31 พ.ค. 63 จัดซื้อครุภัณฑ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคคลากรที่ปฏิบัติงาน 0 54,200.00 47,800.00

3.1 รณรงค์เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล สถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆ กิจกรรมที่1 ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลพร่อนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมการป้องกันตนเองด้วยหน้ากากอนามัยและการล้างมือ
3.2 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
3.3 การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในพื้นที่ตำบลพร่อน ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่นชุดป้องกันตนเอง แว่นตา หน้ากาก ฯลฯ 3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ 3.5 ดำเนินกิจกรรมตามเอกสารแนบท้าย 3.6 สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้ผู้บริหาร ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้ 2 ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลพร่อน ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ 3 การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 เม.ย. 2563 13:10 น.