กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ ตำบลตะโละแมะนา
รหัสโครงการ 60-2986-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลตะโละแมะนา
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิพนธ์ บัวจันทร์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.604,101.401place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น อันเนื่องมาจากการพัฒนางานด้านการแพทย์การสาธารณสุขทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุจึงทำให้สังคมไทย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ หมายความว่าประชากรที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีจำนวนและสัดส่วนมากขึ้น ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ให้คำนิยามว่า ประเทศใดที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเกินร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 20 หรืออายุ 65 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14 ประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 7.0 ล้านคน หรือร้อยละ 10.7 ในปี 2550 เป็น 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 11.7 ในปี 2553 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 14.5 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ในปี 2568 หรือ 1 ใน 5 จะเป็นประชากรผู้สูงอายุซึ่งผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมของร่างกาย มีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง และมีปัญหาเกี่ยวกับโรคเรื้อรังต่างๆเป็นผลให้มีการช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง โดยเฉพาะในช่วงอายุ 80-89 ปี ของผู้สูงอายุมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันซึ่งต้องอาศัยความช่วยเหลือและการดูแลเอาใจใส่จากญาติพี่น้อง จากข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้สะท้อนถึงแนวโน้มของปัญหาอันสืบเนื่องมาจากการที่จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตั้งแต่ปี 2555-2559 พบว่าข้อมูลจำนวนประชากรผู้สูงอายุของตำบลตะโละแมะนา ในปี พ.ศ. 2555 มีประชากรผู้สูงอายุ 220 คน คิดเป็นร้อยละ 6.65 ในปี พ.ศ. 2556 มีประชากรผู้สูงอายุ 229 คน คิดเป็นร้อยละ 6.92ปี พ.ศ. 2557 มีประชากรผู้สูงอายุ 234 คน คิดเป็นร้อยละ 7.07 ในปี พ.ศ. 2558 มีประชากรผู้สูงอายุ 273 คน คิดเป็นร้อยละ 7.63 และในปี พ.ศ. 2559 มีประชากรผู้สูงอายุ 281 คน คิดเป็นร้อยละ 8.03 จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้สูงอายุของตำบลตะโละแมะนา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว การดูแลผู้สูงอายุในชุมชนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความครอบคลุมประชากรและภาวะสุขภาพที่มีความแตกต่างเหล่านี้ คุณลักษณะของผู้สูงอายุและปัญหาต่าง ๆ ที่ผู้สูงอายุในปัจจุบันกำลังประสบ เป็นข้อมูลที่สำคัญที่สามารถใช้สะท้อนถึงแนวโน้มของปัญหาอันสืบเนื่องมาจากการที่จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในอนาคต ตลอดจนสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางนโยบายและแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดีตามมาตรฐานที่พึงประสงค์ 2 เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพเชื่อมโยงจากสถานบริการสู่ชุมชน 3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน
  1. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง,โรคในช่องปาก,โรคตาต้อกระจก,โรคซึมเศร้า,สมองเสื่อม ร้อยละ 90
  2. ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองสุขภาพพบภาวะเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและส่งต่อรับการรักษาที่เหมาะสม ร้อยละ 100
  3. ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมกิจกรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1 ประชุมคณะกรรมชมรมผู้สูงอายุ 2 วางแผนการดำเนินกิจกรรม 3 สำรวจและพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้สูงอายุให้ครอบคลุมครบถ้วนเป็นปัจจุบัน 4 ประเมินสุขภาพตามเกณฑ์ ADL เพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุแต่ละกลุ่มโดยแบ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มติดสังคม, กลุ่มติดบ้านและกลุ่มติดเตียง 5 ตรวจคัดกรองสุขภาพเบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,โรคในช่องปาก,โรคตาต้อกระจก,โรคซึมเศร้า,สมองเสื่อม ในผู้สูงอายุ 6 บันทึกและสรุปข้อมูลผู้สูงอายุ 7 พัฒนาศักยภาพครอบครัวและอาสาสมัครในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน 8 ส่งเสริมและพัฒนาทีมเยี่ยมบ้านในระดับหมู่บ้าน ในกลุ่มติดสังคม,ติดบ้าน และติดเตียง 9 จัดมุมส่งเสริมสุขภาพลานกะลา 10 มีการติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ 11 สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการพึ่งพาตนเองและพึ่งพาซึ่งกันและกันในการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม 2 ชมรมผู้สูงอายุตำบลตะโละแมะนามีการดำเนินงานอย่างเข้มแข็งมีการบริหารจัดการชมรมที่ดีและมีการจัดกิจกรรมอย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2560 21:44 น.