กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เฝ้าระวัง กักกันกลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L7258-5-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ฝ่ายบริการสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 17 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายณตฤณ เพ็ชรมี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVD-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลก มีรายงานผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก รวม 207 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 นครรัฐ เรือ Daimond Princess เรือ Grands Princess และเรือ MS Zaandam ในวันที่ 15 เมษายน จำนวน 2,005,542 ราย มีอาการรุนแรง 51,592 ราย เสียชีวิต 126,858 ราย โดยประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วย ยืนยัน 10 อันดับแรก ได้แก่สหรัฐอเมริกา 614,246 ราย สเปน 174,060 ราย อิตาสี162,488 ราย ฝรั่งเศส 143,303 ราย เยอรมนี 132,210 ราย สหราชอาณาจักร 93,873 ราย จีน 83,357 ราย (รวม ฮ่องกง 1,017ราย มาเก๊า 45 ราย) อิหร่าน 74,877 ราย ตุรกี65,111 ราย และเบลเยี่ยม 31,119 ราย สำหรับประทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 34 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 2,613 รายใน 68 จังหวัด เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 41 ราย รักษาหายป่วยเพิ่มขึ้น 177 ราย รวมกลับบ้านแล้ว 1,405 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุระหว่าง 30-39 ปี จำนวน 623 ราย อายุมากที่สุด 97ปีและน้อยที่สุด1 เดือน อายุเฉลี่ย40ปีแบ่งตามภูมิภาค กรุงเทพฯ นนทบุรี 1,464 ราย ภาคเหนือ 95 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 106 ราย ภาคกลาง 344 ราย และภาคใต้ 531 ราย (ข้อมูลจาก: รายงาน ข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 14 เมษายน 2563) และจังหวัด สงขลามีผู้ป่วยสะสม จำนวน 617 ราย รักษาหาย 26 ราย สำหรับเทศบาลนครหาดใหญ่ พบว่ามีผู้ที่เดินทางกลับมาจาก ต่างประเทศและพื้นที่สี่ยง จำนวน 189 ราย ผู้ที่เดินทางกลับมาจากกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล จำนวน606คน มีผู้ติด เชื้อจำนวน8 ราย ซึ่งจำเป็นจะต้องมีมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavius Disease 2019 (Covid 19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่าง ๆ เขตใน พื้นที่ความรับผิดชอบของเทศบาลนครหาดใหญ่ สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม มีความประสงค์จะดำเนิน โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโน 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ซึ่งเป็นไป ตามอำนาจหน้าที่ 1) ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) มาตรา 53 และ มาตรา 55 2) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 (19) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัย ครอบครัวและการรักษาพยาบาล 3) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจ หน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2560 หมวด 5 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ข้อ 13 เมื่อเกิดโรคติดต่อ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาด หรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิดโรคดังกล่าวในเขตพื้นที่ขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นดำเนินการหรือสนับสนุนให้มีการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคนั้น หรือสร้างภูคุ้มกันโรคให้กับผู้ที่มีภาวะเสี่ยง รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ องค์ความรู้ เกี่ยวกับโรคติดต่อ การช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐและเอกชนให้เกิดการปฏิบัติการตามโยบายและแผน การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ข้อ 14ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดโรคหรือมีเหตุสงสัยได้ว่าเกิดโรคตามช้อ 13 ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรค โดยให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมดำเนินการหรือสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว ข้อ 15 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถ เบิกจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ดังนี้ (1) ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุที่ใช้ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ เช่น ถุงมือยางหรือหนังผ้าปิดปากหรือปิดจมูก รองเท้ายางหุ้มสันสูงใต้เข่า (รองเท้าบู๊ต) หรือเสื้อกันฝน (2) เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความจำเป็น เหมาะสม และประหยัด4. หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 1552 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้เดินทางกลับจากประทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 4)หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว 1602 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2563 เรื่อง ยกเว้นการใช้จ่ายเงินสะสมในการควบคุมเพื่อสังเกตอาการของ ผู้เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVD 19) 5) หนังสือด่วนที่สุดที่ มท 0808.2/ว1727 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางปฏิบัติการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการป้องกัน และควบคุม โรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 6) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0023.3/ ว2265 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่อง หารือแนวทางปฏิบัติในการในการควบคุมเพื่อสังเกตของผู้เดินทางกลับ จากประเทศที่เป็นเขตโรคติดต่อหรือเป็นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVD-19) 7) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข 0023.3/ว 2271 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2563 เรื่อง คำสั่งจัดตั้งศูนย์บริการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavrus Disease 2019 (COVID-19) หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) 0405.2/ว115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เรื่อง การดำเนินการกรณี การจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์หรือ การจัดจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVD 19) 9) หนังสือกระทรวงการคลัง ที่กค. (กวจ) 0433.2/ว120 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2563 เรื่อง แนวทางการดำเนินการกรณี จัดซื้อจัจ้างเพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุสำหรับป้องกัน ควบคุมหรือรักษา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) 10) หนังสือจังหวัดสงขลา ด่วนที่สุด ที่ สข0023.3/ว 2441 ลงวันที่31 มีนาคม 2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่ม ผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง เตรียมการจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคโควิด 19 ที่จะเกิดขึ้น โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานการดำเนินงานกับ นายอำเภอและสาธารณสุขอำเภอ 11) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ 2547 ข้อ 91 ภายใต้บังคับข้อ 89 ในกรณี ฉุกเฉินที่มีสาธารณภัยเกิดขึ้นให้ผู้บริหารท้องถิ่นอนุมัติให้จ่ายขาดเงินสะสมได้ตามความจำเป็นในขณะนั้น โดยให้ คำนึงถึงฐานะการเงิน การคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น 12) ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัด จ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ข้อ 79 วรรคสอง การซื้อหรือจ้างตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่มีความจำเป็น เร่งด่วนที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่รับผิดชอบใน การปฏิบัติงานนั้นดำเนินการไปก่อนแล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ และเมื่อหัวหน้า หน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม 13) ประกาศ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นดำเนินงาน และการบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่( ฉบับที่ 3) พ.ศ 2563 14) หนังสือด่วน ที่สุดที่ มท 0808.2/ว 2120 ลงวันที่ 9 เมษายน 2563 เรื่องซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อช่วยเหลือประชาชน กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19

15)คำสั่งเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่    /2563 ลงวันที่  เมษายน 2563 เรื่อง การจัดตั้งศูนย์กักกันหรือสังเกต อาการกลุ่มผู้ป่วยของเทศบาลนครหาดใหญ่ (Local Quarantine) ดังนั้น สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ตระหนักถึงความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavius Disease 2019(COv-19) ทั้งในทางตรงและทางอ้อม จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง กักกันกลุ่มเสี่ยง จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavius Disease 2019 (COVID-19) เพื่อเฝ้าระวัง กักกันกลุ่มเสี่ยงที่ เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดอื่น ๆ รวมถึงการป้องกันการระบาดในพื้นที่จุด เสี่ยงในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังกักกันกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัดอื่น ๆ

กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากต่างประเทศ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และจังหวัด  อื่น ๆ ได้รับการกักตัวสังเกตุอาการ

0.00
2 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยง ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่

มีการป้องกันการระบาดของโรคในพื้นที่จุดเสี่ยงในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00
3 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)

การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 100,000.00 3 91,690.00
20 เม.ย. 63 จัดซื้อวัสดุเครื่องแต่งกาย 0 40,000.00 40,000.00
20 เม.ย. 63 จัดซื้อครุภัณฑ์สำนักงาน 0 9,000.00 0.00
16 ก.ย. 63 จัดซื้อวัสดุงานบ้านงานครัว 0 51,000.00 51,690.00

๑. ขั้นตอนวางแผนงาน ร่วมประชุมวางแผน กำหนดเป้หมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบ วิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่ตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามแผนงาน/โครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน ๒. จัดทำโครงการเสนอนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการป้องกัน การควบคุม การแพร่ การระงับการระบาด การควบคุมเพื่อสังเกตอาการของผู้ดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขต โรคติดต่อหรือเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒01๙ หรือโรคโควิด 1๙ (Coronavirus Disease ๒o1๙(COVID-1๙) แก่กลุ่มเป้าหมาย ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือ ประชาชน ตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พศ.2๕6๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ๖ ข้อ1๓ ข้อ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๘ ๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน -จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการกักกันหรือสังเกตกลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้ที่เกี่ยวซ้อง ตลอดจนการดำเนินการของศูนย์กักกันหรือสังเกตอาการกลุ่มผู้ป่วยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Quarantine) -ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนโดยผ่านสื่อต่าง ๆ -สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อป้องกัน การควบคุม การแพร่ และการระงับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐1๙ หรือโรคโควิด 1๙ (Coronavirus Disease ๒019 (COVID-๑๙) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในการสอบสวนโรคและควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาชารณสุข และเป็นไปตามหนังสือสั่งการ ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง -ดำเนินการจัดเตรียมสถานที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์คันหากลุ่มเสี่ยงที่เดินทาง มาจากต่างประเทศ กรุงเทพ ฯ และปริมณฑล และจังหวัดอื่น ๆโดยดำเนินการร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลหาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค -ติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งข่าวสารให้แก่ประชาชนทราบ เป็นระยะ ๆ -สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานผลต่อนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และคณะกรรมการช่วยเหลือ ประชาชน เทศบาลนครใหญ่ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดการแพร่ระบาดของโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)
  2. ประชาชนในพื้นที่เทศบาลนครหาดใหญ่ สามารถป้องกันโรคติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ได้
  3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ขัดเจน และมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2563 12:32 น.