กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชารัฐร่วมใจ เฝ้าระวัง ป้องกัน ภัยร้ายจากไข้มาลาเรีย ปี 2560
รหัสโครงการ 60-L4116-4-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลูโบ๊ะปันยัง
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน 3 กันยายน 2561
งบประมาณ 46,018.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเลาะ สะรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซัลมา หะยีสะมะแอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.449,101place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสาธารณสุขที่สำคญของจังหวัดยะลาในขณะนี้คือ การระบาดของดรคมาลาเรีย (malaria) ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งที่มีแนวโน้มกรป่วยเพิ่มขึ้นทุกปี จากสถานณการณ์โรคมาลาเรีย พบว่าจังหวัดยะลา ปี 2559 มีผู้ป่วยด้วยโรคมาลาเรีย จำนวนทั้งสิ้น 2,042 ราย เสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 455.89 ต่อปีต่อประชากรแสนคน และในปี 2560 พบผู้ป่วย 222 ราย อัตราป่วย 49.93 ต่อประชากรแสนคนกลุ่มอายุที่พบสูงสุด 15-25 ปี จำนวน 42 ราย และอาชีที่พบสูงสุด คือนักเรียน113 คน อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ อำเภอธารโต อัตรป่วย 345.30 ต่อประชากรแสนคน อำเภอกาับง อัตรา 280.31 ต่อประชากรแสนคน และอำเภอกรงปีนัง อัตราป่วย 90.72 ต่อประชากรแสนคน และดดยเฉพาะในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง (หมู่ที่ 3,6 ตำบลกาบังและหมู่ที่ 6 ตำบลบาละ) พบผู้ป่วยจำนวน 38 ราย อัตราป่วย 781.73 ต่อประชากรแสนคน (งานระบาดวิทยา สำนักสาธารณสุขอำเภอกาบัง)
เมื่อทบทวนในอดีตพบว่าอุปสรรคในการดำเนินงานควบคุมโรคมาลาเรียในพื้นที่อำเภอกาบัง เนื่องจากปัจัยที่สำคัญในการแพร่ระบาดของโรคคือ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ที่มีฝนตกชุกตลอดปี เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การแพร่กระจายของโรคก็คือ สภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ที่มีฝนตกชุกตลอดปี เป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การแพร่กระจายของยุง ที่เป็นพาหะนำโรค แต่ก็มีอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อการแพร่กระจายของยุงในพื้นที่ คือความตระหนักของประชาชนในชุมชน ที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องไข้มาลาเรียเป็นอย่างดี ในการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง และประชากรในพื้นที่มีการเคลื่อนย้ายไปมาซึ่งส่งผลทำให้การติดตามในการรักษาของเจ้าหน้าที่มาลาเรียคลีนิกทำได้ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยไม่ต่อเนื่องโดยมักจะขาดยา (หยุดกินยาเอง) เมื่อมีอาการป่วยดีชึ้นรวมทั้งไม่ตระหนักของความสำคัญของการนอนในมุ้ง และมีความยากลำบากในการเดินทางมารับการตรวจรักษาที่มาลาเรียคลีนิกหรือ รพ.สต. ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ส่งผลให้ทีมปฏิบัติงานต้องปรับแผนและวิธีการดำเนินงานใหม่โดยเน้นการเร่งค้นหาผู้ป่วยไข้มาลาเรีย (active case) มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคงไม่ทิ้งการค้นหาผู้ป่วยทางอ้้อม (passive case) โดย รพ.สต.ได้เจาะเลือดตรวจใช้ชุดตรวจ Optimal ใน case ที่มีอาการบ่งชี้ และสงสัย ให้การรักษาตามCPG และเจาะเลือดป้ายสไลด์ส่งให้คลินิกมาลาเรีย (นคม.ยะลา) และโรงพยาบาลตรวจวินิจฉัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อกำจัดยุงพาหะนำโรคมาลาเรีย ในพื้นที่หมู่ที่ 3,6 ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง

 

2 2.เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคมาลาเรียให้ได้มากกว่า 20% (เทียบอัตราป่วยปี พ.ศ 2559)

 

3 3.เพื่อเจาะเลือดค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกในพื้นที่ A1 (90%)และ A2 (60%) 3.1 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และการรักษาโรคไข้มาลาเรียทันทีที่พบเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพทั้งจากในสถารบริการสถารณสุข และนอกสานณ์บริการสาธารณสุข 3.2เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงการปฏิบัติที่นำไปสู่สุขภาพที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการควบคุมโรคไข้มาลาเรียในรูปแบบที่มีชุมชนทุกองค์กรมีส่วนร่วม

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.ประชุมชี้แจงผู้นำชุมชน/แกนนำชุมชน/ตัวแทน อสม. เพื่อให้มีความรู้ และพร้อมที่จะดำเนินการควบคุม เฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรียในชุมชน 4.จัดทำป้ายโครงการ 5.จัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจในการควบคุม เฝ้าระวังป้องกันโรคมาลาเรีย 6.การค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ร้อยละ 90 เื่อการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วและได้รับการรักษาทันที่ที่พบเชื้อ 7.ควบคุมเชิงรุก ด้วยการพ่นหมอกควันฆ่ายุงพาหะตัวเต็มวัยในพื้นที่เป้าหมาย ชุมชน/กลุ่มบ้านที่มีการระบาดและเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้มาลบาเรีย เวลา 18.30-21.30 น. 8.ออกเยี่ยมบ้านให้ความรู้แก่ประชาชนตามกลุ่มบ้าน A1,A2 9.มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ แผนพับ โพสเตอร์ และให้ความรู้ หลังละหมาดวันศุกร์ (ในมัสยิดทุกชุมชน) และในวันประชุมประจำเดือนของกำนัน /ผู้ใหญ่บ้าน ในวันประชุมสภาประชารัฐตำบลกาบัง 10.ประเมินผล การดำเนินงาน และปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานตามโครงกรและแนวทางแก้ไข 11.สรุปผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-สามารถควบคุมการระบาดซ้ำของโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ดำเนินการได้ -ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการระบาดโรค ตลอดจนให้ความร่วมมือในการรณรงค์ อย่างต่อเนื่อง -สามารถลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่เป้าหมายได้ ทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้มาลาเรียลดลงและไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 11:04 น.