กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 2 - 07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ
วันที่อนุมัติ 25 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กุมภาพันธ์ 2563 - 25 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กุมภาพันธ์ 2564
งบประมาณ 83,084.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 128 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมในปัจจุบัน มีความเจริญทางด้านวัตถุ และเทคโนโลยี ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้การดำรงชีพในครอบครัวต้องแข่งขัน รายได้ กับรายจ่าย ก่อให้เกิดปัญหา แล้วยังส่งผลต่อการดำรงชีวิต ปัญหาสุขภาพ เป็นปัญหาหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดการบั่นทอนต่อการทำงาน การเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นกิจอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อเด็กที่กำลังเจริญเติบโตที่จะส่งผลให้การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กที่กำลังเจริญก้าวไกล ทำให้ช้าลง

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ พบปัญหาเกี่ยวกับโรคโรคฟันผุ โรคปริทันต์ จำนวน 53 คน คิดเป็น ร้อยละ 41.41 สาเหตุจากการที่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ใส่ใจเรื่องสุขภาพช่องปาก ขาดความรู้และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่แปรงฟันก่อนนอน พร้อมทั้งผู้ปกครองไม่ได้ตระหนักถึงปัญหานี้เท่าที่ควร ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กเป็นอย่างมาก และพื้นที่โรงเรียนบ้านควานฟ้าแลบ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 บ้านปลักมาลัย ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีเขตบริการนักเรียนดังนี้ คือ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 9 ในสภาพพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งมีโอกาสที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูง พบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนร้อยละ 30 นักเรียนส่วนหนึ่งนำรถจักรยานในการเดินมาโรงเรียน และนักเรียนยังขาดความรู้เกี่ยวกับการใช้รถบนท้องถนน ไม่ระมัดระวังในการใช้รถ ขับรถด้วยความประมาท ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง นักเรียนและผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจร ความประมาท เนื่องจากโรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบเชื่อมต่อถนนสายหลัก ระหว่างชุมชน ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ดังนั้นถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการใช้รถ การสวมหมวกนิรภัย การไม่ประมาท ย่อมจะลดภาวะความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุได้ ปัญหาที่พบอีกอย่างหนึ่งในชุมชนเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ร้อยละ 20 ไข้เลือดออก ปี 2560 – 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 2, 12 และ 21 คน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 1327.43, 758.53 และ 131.75 ตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสุขภาพของนักเรียน ถ้านักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ ส่วนหนึ่งก็สามารถป้องกันตนเองได้ นอกจากการส่งเสริมเรื่องสุขภาพของนักเรียนแล้ว กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการรู้จักการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเครียด สร้างภูมิคุ้มกันโรค สุขภาพแข็งแรงทั้งยังร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ดี การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ปกครองและนักเรียน ซึ่งส่งผลที่ดีกับสุขภาพของนักเรียนเป็นอย่างมาก

โรงเรียนบ้านควนฟ้าแลบ ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สานสัมพันธ์รักในครอบครัว เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของนักเรียน ให้นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก การป้องกันโรค การป้องกันอุบัติเหตุ และส่งเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวและโรงเรียนโดยการทำกิจกรรมร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้กับนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปาก การป้องกันโรคและการป้องกันอุบัติเหตุ
  1. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากเพิ่มขึ้น

  2. ร้อยละ80ของนักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น

  3. ร้อยละ90ของผู้ปกครองมีการสวมหมวกกันน็อกและเข็มขัดนิรภัยเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุทางจราจรจากการนำนักเรียนมาโรงเรียนโดยยานพาหนะส่วนบุคคล

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้นและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  1. ร้อยละ  90  ของนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพในช่องปากโดยทันตแพทย์หรือบุคลากรเกี่ยวกับทันตกรรมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

  2. ร้อยละ 100  ของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข และส่งต่อไปรับการรักษาที่ถูกวิธีกับผู้เชี่ยวชาญของทันตแพทย์

0.00
3 เพื่อลดอัตราการป่วยของนักเรียน และครูด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก
  1. อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลง
  • โรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

  • โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ลดลงจากเดิมอย่างน้อย ร้อยละ 50

0.00
4 เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันโรงเรียนกับครอบครัว

1.ร้อยละ 90 ของผู้ปกครอง มีการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นักเรียน ครู และผู้ปกครอง

2.นักเรียน ครู และผู้ปกครอง ได้ร่วมกันกำหนดมาตรในการดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค และการป้องกันอุบติเหตุทางด้านการจราจร อย่างน้อย 5 มาตรการ

  1. ร้อยละ 90 ของนักเรียน และครูร่วมกันออกกำลังกายหรือกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 83,084.00 6 83,084.00
25 ก.พ. 63 - 25 ก.พ. 64 ส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้นักเรียน 0 3,456.00 3,456.00
1 พ.ค. 63 - 30 มิ.ย. 63 รณรงค์ป้องกันโรค 0 6,748.00 6,748.00
1 - 30 มิ.ย. 63 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง 0 43,120.00 43,120.00
1 - 30 มิ.ย. 63 ใช้ถนนปลอดภัย ร่วมใจ ป้องกันอุบัติเหตุ 0 3,650.00 3,650.00
1 - 31 ก.ค. 63 กีฬาสร้างความสัมพันธ์ 0 25,110.00 25,110.00
1 - 25 ก.พ. 64 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 1,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)

  1. ขั้นเตรียมการ

1.1 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจาก กองทุนฯ อบต.กำแพง

2.1 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/วิทยากรเพื่ออบรมให้ความรู้


2. ขั้นดำเนินงานตามกิจกรรมดังนี้

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง

1.1 สุขภาพในช่องปาก เช่น การดูแลสุขภาพเหงือกและฟัน การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ

1.2 การควบคุม การป้องกัน โรคติดต่อ โรคไข้หวัด โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น

1.3 การป้องกันอุบัติเหตุ การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจร สัญญาณไฟ และการให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ด้วยหลักสูตรที่เหมาะสมกับเด็กระดับประถมศึกษา


กิจกรรมที่ 2 ฟันดีมีสุข

2.1 ครูประจำชั้นคัดเลือกแกนนำนักเรียนแต่ละชั้นเรียน ห้องละ 2 คน

2.2 รณรงค์ให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยมีนักเรียนแกนนำเป็นผูกำกับดูแลการแปรงฟันและมีเพลงประกอบขณะที่แปรงฟัน

2.3 แกนนำนักเรียนตรวจสอบความสะอาดหลังแปรงฟัน พร้อมบันทึกผล

2.4 กรณีเด็กฟันผุให้แกนนำนักเรียนรายงานผลให้ครูประจำชั้นทราบ และแจ้งผลให้ผู้ปกครองทราบ ส่งตัวรักษาที่ถูกต้องต่อไป


กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ป้องกันโรค

3.1 นักเรียนและครูเดินรณรงค์ ป้องกันโรคภัยต่างๆและหลักการการจัดการขยะตามหลักสุขาภิบาล พร้อมทั้งรณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก วิธีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน

3.2 จัดกิจกรรมการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและห้องน้ำ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

3.3 กรณีเด็กป่วยที่มีการคล้ายสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก โรงเรียนดำเนินการแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโดยเร็วเพื่อดำเนินการแก้ไขและสอบสวนโรคต่อไป


กิจกรรมที่ 4 ใช้ถนนอย่างปลอดภัย ร่วมใจกัน ป้องกันอุบัติเหตุ

4.1 ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา ปรึกษาหารือเกี่ยวกับ การใช้มาตรการในโรงเรียนเกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย การจัดทำป้ายจราจร การใช้รถใช้ถนนภายในโรงเรียน

4.2 รณรงค์ให้นักเรียนขับขี่รถโดยสวมหมวกนิรภัย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ


กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมกีฬาสร้างความสัมพันธ์

5.1 ประชุมคณะครูและกรรมการสถานศึกษา เพื่อกำหนดกิจกรรมกีฬาสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน

5.2 ประชุมผู้ปกครองนักเรียน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ในการดำเนินการจัดกิจกรรม และ แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกิจกรรม

5.3 กำหนดวันจัดกิจกรรมในการดำเนินการในกิจกรรมตามโครงการ

5.4 จัดกิจกรรมตามโครงการ นักเรียนและผู้ปกครองร่วมกันรับประทานอาหารโดยผู้ปกครองนักเรียนนำอาหารมาจากครัวเรือน มารับประทานร่วมกัน


3. ขั้นประเมินผล

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนความรู้ จำนวน 2 ครั้ง

6.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

6.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากการป้องกันโรคติดต่อ และการป้องกันอุบัติเหตุจากการใช้รถใช้ถนน
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากลดลง และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  3. อัตรากาป่วยด้วยโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออดลดลง
  4. นักเรียนสวมหมวกนิรภัยเพิ่มขึ้นและอุบัติเหตุภายในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  5. นักเรียนและผู้ปกครอง ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันโรงเรียนและครอบครัว
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2563 16:33 น.