กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลเมืองเบตง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลเบตง
วันที่อนุมัติ 12 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 30 มิถุนายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณาโต๊ะมัน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.803,101.009place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุในประเทศไทยที่ผ่านมามีปัญหาสุขภาพพบเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และมักจะตามมาเป็นโรคหลอดเลือดสมอง มีอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้มีความพิการตามมา ทำให้ผู้สูงอายุที่พิการกลายเป็นผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงในปี ๒๕๖๐กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่๑ : การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงและส่งเสริมการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับประชากรกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องการให้คนมาดูแลในการช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน จึงมีนโยบายให้มีพยาบาลผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ(Care manager) ๑ คนต่อผู้สูงอายุ ๔๐ คน และ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver)โดย ๑ คนต่อผู้สูงอายุ ๕-๑๐ คน ซึ่งผู้สูงอายุจะได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน(Activity of Daily =ADL)
ในปี ๒๕๕๙ ตำบลเบตง มีผู้สูงอายุ จำนวน ๒,๙๗๐ คน ผู้สูงอายุได้รับการประเมินกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ADL) พบว่า ติดสังคม จำนวน ๒,๘๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๕.๗๕ติดบ้าน จำนวน ๙๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๒๓ ติดเตียง จำนวน ๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๑.๐๑ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงทั้งหมด จำนวน ๑๒๖ คน แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ ๑ จำนวน ๗๕ คน กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๒๑ คน กลุ่มที่ ๓ จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่ ๔ จำนวน ๓ คน และในกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง หรือผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง มีการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพค่อนข้างยากลำบาก และในการดำเนินชีวิตประจำวันต้องพึ่งพาผู้ดูแล ซึ่งบางคนขาดคนดูแลและพักอาศัยอยู่โดยลำพัง ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองกิโลเมตรที่ ๓ จึงได้จัดทำโครงการนี้ เพื่อจัดรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล จัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ที่มีความรู้และความเข้าใจวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้อง และเหมาะสม อันส่งผลให้ผู้สูงอายุ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ(caregiver)ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่รับผิดชอบได้ตามเกณฑ์ 2. เพื่อจัดระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และให้ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิง ได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. ดำเนินการกิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ : อบรมฟื้นฟูทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ(caregiver) จำนวน ๑ วัน
    ๑.อบรมฟื้นฟูทักษะผู้ดูแลผู้สูงอายุ(caregiver)ให้สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ รับผิดชอบได้ตามเกณฑ์ จำนวน ๒๐ คน X ๑ วัน กิจกรรมที่ ๒: ประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน (ADL/TAI ๑. พยาบาลผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ (care manager)และผู้ดูแลผู้สูงอายุ(caregiver) ประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Activity of Daily =ADL)และTAIใน ชุมชน เดือนละ ๑ ครั้ง/ ตามสภาพปัญหาของผู้ป่วย ๒.จัดทำนวตกรรมสำหรับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กิจกรรมที่ ๓: ประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพ (Careconference)
    ๑. ทีมสหสาขาวิชาชีพ (พยาบาลวิชาชีพ,นักกายภาพบำบัด,แพทย์แผนไทย,เภสัชกร,นักจิต เวชเป็นต้น) ประชุม careconference เดือนละ ๒ ครั้ง ๒. พยาบาลผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จัดทำCare plan ผู้สูงอายุที่ติดบ้าน
    ติดเตียงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
    1. ให้การบริการที่บ้านดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
    2. นำเสนอ Care planต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่ถูกต้อง และเหมาะสม
  2. มีระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่ มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 11:07 น.