กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านโตนนอก
รหัสโครงการ 63-L1521-5-26
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านโตนนอก
วันที่อนุมัติ 18 กุมภาพันธ์ 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,830.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ เงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนการพัฒนาสาธารณสุขมูลฐาน หมู่ที่ 3 บ้านโตนนอก โดยนางพัฒนา พลหาญ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ม.3 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.744,99.326place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 16,830.00
รวมงบประมาณ 16,830.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด 2019 ซึ่งมีการประกาศกระทรวงสาธารณสุขให้โรคไวรัสโคโรน่า หรือ COVID-19 เป็นโรคร้ายแรง ทำให้เกิดการตื่นตระหนกของประชาชนทั่วโลกและคนไทย ซึ่งพบการระบาดไปในหลายประเทศ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม อย่างรุนแรง สถานการณ์การระบาดกำลังแพร่กระจายยังไม่สามารถควบคุมได้ สถานการณ์โควิด-19 ในไทย ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563 107 ราย  ติดเชื้อเพิ่ม (ยอดรวม 934 ราย) 860 รายรักษาตัวในโรงพยาบาล 70 รายรักษาหายกลับบ้านแล้ว 4 รายเสียชีวิต พบในเพศชายมากกว่าที่ 62.7% ในขณะที่ผู้หญิง 37.3% ผู้ป่วย 1 ใน 5 เป็นผู้ที่ไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใดผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล 347 ราย ในต่างจังหวัด 93 ราย เขตพื้นที่ภาคใต้ 46 ราย ซึ่งขณะนี้มีการกระจายแทบทุกภาคแล้ว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสนามมวย สถานบริการ และประกอบอาชีพเสี่ยง พญ.ปฐมพร  ศิรประภาศิริ แพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า ในผู้ป่วยโรคโควิด-19 จากการเก็บสถิติทั่วโลกนั้น 80% มีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา (อาการไม่รุนแรง ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ) 7-15% เริ่มมีอาการปอดอักเสบ ซึ่งจะเป็นระยะที่มีการให้ยาต้านไวรัส (ไทยพบประมาณ 9%) 3-5% ผู้ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง จนนำมาสู่การเสียชีวิต 4% (ไทยพบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 0.4%) พญ.ปฐมพร ยังชี้ว่าผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนั้นได้แก่ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะอ้วน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจวาย โรคไตเรื้อรัง โรคตับแข็ง และโรคเบาหวาน สถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดตรังนพ.บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.ตรัง กล่าวว่า ข้อมูลยืนยันในวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓ มีผู้ป่วยที่สอบสวนโรคทั้งหมด 36 ราย ตอนนี้ก็ได้ผลการตรวจตอนนี้ก็มีเป็นผู้ป่วยยืนยัน ว่าติดเชื้อ จำนวน 1 ราย ส่วนอีก 35 ราย ไม่พบเชื้อ
และจากกรณีที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการประกาศปิดชั่วคราวสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ    โควิด-19 หรือล็อคดาวน์ ทำให้มีประชาชนที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาศัยช่วงเวลาดังกล่าวเดินทางกลับภูมิลำเนาในต่างจังหวัด ทำให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความวิตกกังวลว่าจะทำให้การแพร่เชื้อระบาดเพิ่มมากขึ้นและได้มีการสั่งให้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับทราบว่า บ้านหลังไหนมีญาติกลับมาจากกทม. ให้รีบแจ้งต่อ อสม. ในพื้นที่ของตนเอง และให้มีการกักตัวอยู่บ้าน 14 วันตามมาตรการเดียวกับการกลับจากต่างประเทศ โดยไม่มีข้อยกเว้น ทำให้ อสม.เป็นด่านหนึ่งที่มีภาวะเสี่ยงในการเกิดโรค ดังนั้น มาตรการการป้องกันไม่ให้ติดโรค COVID-19 ถือว่าจำเป็นและสำคัญยิ่ง ด้วยการดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเพื่อมิให้ป่วย การป้องกันตนเอง เช่น หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศที่มีภาวะเสี่ยง หรือสถานที่มีคนพลุกพล่าน การล้างมือให้สะอาดอย่างถูกต้อง ทั้งด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือ สบู่ การสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีการ การไม่นำเอามือมาป้ายหรือ จับหน้า และการวัดอุณหภูมิเช็คว่าตัวเองมีไข้ก็เป็นการป้องกันตนเอง ชมรมอาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 3 บ้านโตนนอก ซึ่งเป็นกลุ่มแกนนำด้านสุขภาพ และใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ จึงได้ จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) ขึ้น เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค และสามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากการติดต่อของโรคนี้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อสำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - ๑๙) ในพื้นที่ ๒.ประชาชนในพื้นที่รู้วิธีการป้องกันโรคระบาด ร้อยละ 90 ๓.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อ

๑.ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคโควิต-19

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,830.00 0 0.00
1 มี.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน 0 16,830.00 -

๑.ประชุมชี้แจงนำเสนอโครงการ ๒.จัดทำแผนงานโครงการ เพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน ๓.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับการดำเนินงานตามโครงการฯ ๔.ดำเนินการบูรณาการกับหน่วยงานผู้นำชุมชนและกลุ่มองค์กรต่างๆเช่น รพ.สต.กะลาเส, ผู้ใหญ่บ้าน
๕.สำรวจกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเสี่ยง ที่จำเป็นต่อการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙  (COVID-๑๙) ในพื้นที่
๖. คัดกรองกลุ่มเสี่ยง ดูแล ติดตาม เฝ้าระวังโรคเบื้องต้น ลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชน
๗.เพื่อให้สร้างองค์ความรู้ให้กลุ่มเสี่ยง เรื่องการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
๘. ประเมินผล และสรุปผลการดำเนินงาน
๙. ดำเนินการตามโครงการ
๑๐. สรุปและประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. การเฝ้าระวังโรค สามารถลดการเกิดและการระบาดของโรคติดต่อในชุมชนได้
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อ    ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) อย่างถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2563 16:08 น.