กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผสมผสานการออกกำลังกายแบบบาสโลบ ปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63-L5209-10.2-030
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 18
วันที่อนุมัติ 21 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,028.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมบูรณ์ รุ่งเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบ ทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น การมีกิจกรรมทางกายน้อย การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือ และไขมันสูง การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ และการสูบบุหรี่ ซึ่งนำมาสู่ภาวะโรคที่เพิ่มขึ้น (กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, ๒๕๖๑; WHO, ๒๕๕๖) สำหรับสถานการณ์ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย จากข้อมูลนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในรอบ ๕ ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๖๐) เพิ่มขึ้นจาก ๑๒,๓๔๒.๑๔ (จำนวน ๓,๙๓๖,๑๗๑ คน) เป็น ๑๔,๙๒๖.๔๗ (จำนวน ๕,๕๙๗,๖๗๑ คน) และจากข้อมูลศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่าอัตราการป่วยใหม่ของโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน ในรอบ ๓ ปีที่ผ่านมา (๒๕๕๘ – ๒๕๖๐) เพิ่มขึ้นจาก ๙๑๖.๘๙ (จำนวน ๕๔๐,๐๑๓ คน) เป็น ๑,๓๕๓.๐๑ (จำนวน ๘๑๓,๔๘๕ คน) (กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค, ๒๕๖๑) และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์การป่วยเป็นโรคเบาหวานของคนไทย ระหว่างพ.ศ. ๒๕๕๕ กับ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพิ่มขึ้นจาก ๑๓.๒ ต่อแสนประชากร เพิ่มเป็น ๑๗.๘ ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสอดคล้องกับอัตราป่วยใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านป่ายาง ในระยะ ๓ ปี ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ.๒๕๖๐ เท่ากับ ๑๗๒.๘๔ ปี พ.ศ.๒๕๖๑ เพิ่มขึ้นเป็น ๒๔๒.๒๓ และในปี พ.ศ.๒๕๖๒ เพิ่มขึ้นเป็น ๓๓๘.๔๑ ตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา, ๒๕๖๓) โดยการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานยังก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่านอกจากการบริการทางคลินิกแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีความสำคัญและจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโรคติดต่อดังกล่าว
ดังนั้นเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๑๘ ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผสมผสานการออกกำลังกายแบบบาสโลบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงพฤติกรรมของการเกิดโรค และสามารถการจัดการตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค ตลอดจนดำรงรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการปรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑ เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส.ที่ถูกต้อง ข้อที่ ๒ เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส. ผสมผสานการออกกำลังกายแบบบาสโลบ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ๒. ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส. ผสมผสานการออกกำลังกายแบบบาสโลบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ระยะก่อนดำเนินงาน ๑. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการ ๒. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
ระยะดำเนินงาน ๑. ประชุมชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานโครงการให้เจ้าหน้าที่ และ อสม.ทราบ ๒. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบผ่านทางหอกระจายข่าว เสียงตามสาย และ อสม.เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
๓. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยง ๓.๑ จัดทำเอกสารคู่มือการอบรม และแบบติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓.๒ ประสานวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และวิทยากรในการออกกำลังกายแบบบาสโลบ ๔. จัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยแบ่งกิจกรรม ดังนี้ ๔.๑ ประเมินสภาวะสุขภาพก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง,
คำนวณ BMI, วัดความดันโลหิต
๔.๒ จัดกิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส. ๔.๓ ฝึกทักษะการออกกำลังกายแบบบาสโลบ โดยมี อสม. เป็นผู้นำในการออกกำลัง กาย เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการกระทำ โดยแนะนำให้กลุ่มตัวอย่างออกกำลังกายแบบบาสโลบ ตามหลักการดังนี้ - ออกกำลังกายวันละ ๔๐ นาที สัปดาห์ละ ๔ วัน (จันทร์ – พฤหัสบดี)
ช่วงเวลา ๑๖.๓๐ – ๑๗.๑๐ น.
- ออกกำลังกายตามหลักการออกกำลังกาย ๓ ขั้นตอน ได้แก่
๑) ขั้นอบอุ่นร่างกาย โดยใช้ท่าหมุนข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ใช้เวลาประมาณ ๕ นาที
๒) ขั้นออกกำลังกายแบบบาสโลบ ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที ๓) ขั้นผ่อนหยุด โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ใช้เวลาประมาณ ๕ นาที รวมเวลาทั้งสามขั้นตอนเท่ากับ ๔๐ นาที
๓) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และ อสม. ทำกิจกรรมออกกำลังกายแบบบาสโลบร่วมกันอย่างต่อเนื่อง นาน ๑๒ สัปดาห์ ๔.๔ ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้คำแนะนำรายบุคคล ( หลังจากจัด กิจกรรมออกกำลังกายแบบบาสโลบอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลา ๑๒ สัปดาห์ ) ๕. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
ประเมินสภาวะสุขภาพหลังการร่วมกิจกรรมออกกำลังกายแบบบาสโลบอย่างต่อเนื่อง นาน ๑๒ สัปดาห์ ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก, วัดส่วนสูง, คำนวณ BMI ,วัดความดันโลหิต ร่วมกับประเมินความรู้ ความเข้าใจ เน้นย้ำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก ๓ อ. ๒ ส. พร้อมทั้งวิเคราะห์/สรุปผลเกี่ยวปัญหาอุปสรรคของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
ระยะหลังการดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงาน เพื่อรายงานให้ผู้บริหารทราบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไปใช้ในการจัดการสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปแนะนำให้แก่บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่น ๆ ได้ ๒. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลง หรือไม่เพิ่มขึ้น
๓. ผู้ป่วยรายเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง วัตถุประสงค์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2563 11:17 น.