กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านบ่อแพ รวมพลัง 3อ.2ส.พิชิตโรค
รหัสโครงการ 63-L5209-10.2-045
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคบ้านบ่อแพ พื้นที่หมู่ที่12
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,810.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรอบีอะ หมัดอะดั้ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.048,100.378place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือ โรคมะเร็งทุกชนิด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคเบาหวาน มีอัตราตาย 11.7,48.7 และ 22.3 ต่อแสนประชากรตามลำดับ(ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข รายงานอัตราตายของประชากรไทยในปี2559) ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องและผลการสำรวจกิจกรรมทางกายของประชากร 15 ปี ขึ้นไป ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2558 พบว่าประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่ มีกิจกรรมทางกาย พบว่ามีการเล่นกีฬา/ออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมนันทนาการ ระดับหนักหรือปานกลาง เพียงร้อยละ 23.4 ซึ่งจำเป็นมักจะต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสม การพัฒนาอารมณ์และสุขภาพจิต ตามหลัก 3อ2ส เพื่อเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น   จากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพในพื้นที่หมู่ที่ 12 ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา พบว่า ปัญหา สามอันดับที่สำคัญ ได้แก่ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคสามารถส่งเสริมและกระตุ้นให้ประชาชนได้เรียนรู้ด้านสุขภาพ มีทักษะและมีปัจจัยเอื้อในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์   คณะกรรมการหมู่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขได้ร่วมกันทบทวนบริบทด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ มีความเห็นร่วมกันว่า พื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแพเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่างเมืองกับชนบท วิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับภารกิจด้านเศรษฐกิจจนไม่มีเวลาใส่ใจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะด้านการบริโภคอาหาร อาหารสดที่จำหน่ายในแผงลอยเป็นพืช ผักจากตลาดค้าส่ง ซึ่งบางส่วนปนเปื้อนสารเคมี อาหารสำเร็จรูปในร้านค้ามักเป็นอาหารที่มีไขมันสูง เช่น แกงกะทิ อาหารทอด เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นอาหารที่มีส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว เช่น โรคความดัน เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น การร่วมรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารที่ถูกต้องร่วมกับส่งเสริมการออกกำลังกาย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รูปแบบการดำเนินงานโดยการร่วมจัดทำแผนงานด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและจำหน่ายในชุมชน มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทุกเดือน มีกิจกรรมออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านการบริโภคอาหารที่ถูกต้องและการออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยและการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เกิด หมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาทีร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละ อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารหวานมันเค็ม 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลอดอาหารหวานมันเค็ม 3.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละ อย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารหวานมันเค็ม

1.ม.12เป็นหมู่บ้านต้นแบบ


2.ร้อยละ 75 ของประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารหวานมันเค็ม 3.ร้อยละ75 ของภาคเครือข่าย ส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์อย่างน้อย 3-5 วันๆละ อย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งและลดอาหารหวานมันเค็ม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินการ       1. จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยงลดโรค ม.12 2. จัดทำโครงการฯ เสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าช้าง     3. ประชุมคณะกรรมการวางแผนการดำเนินงานเพื่อดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด     4. จัดกิจกรรมเปิดโครงการการปลูกผักปลอดสารพิษ สาธิตอาหารสุขภาพ
      และออกกำลังกายระยะเวลา 1 วันตาม กำหนด     5. ทำพันธะสัญญาร่วมกับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในกินผัก การออกกำลังกายและลดอาหารหวานมันเค็ม     6. ดำเนินการประเมินผลก่อนและหลังการอบรมติดตามสุขภาพ 3เดือน     7. รวบรวมรายงานผลการดำเนินงาน และประเมินผลการดำเนินงาน     8. รายงานผลการดำเนินงานให้กองทุนหลักประกันสุขภาพทราบหลังจากเสร็จโครงการ 1 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ 2. ประชาชนได้รับความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย 3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องการการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2563 11:10 น.