กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสุขภาพจิตดีชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 60-L1515-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองมวน
วันที่อนุมัติ 30 มีนาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 3,682.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวี จบสองชั้น
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฏา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.9,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1730 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพจิตใจของประชาชนที่เกิดจากการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเช่น การรับประทานอาหาร การนอนหลับ การรับรู้ตัวเอง ผู้ป่วยไม่สามารถประสาน ความคิด ความรู้สึกของตัวเอง เพื่อแก้ปัญหา หากไม่ได้รับการรักษาอาการอาจเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นผลต่อการฆ่าตัวตายได้จากรายงานสรุปแบบรวบรวมข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ในปี ๒๕๕๕–๒๕๕9 พบผู้ที่มีอาการซึมเศร้าทั้งหมด๑๙,๙๕๒ ราย พบมีการทำร้ายตนเอง ๑๒,๔๗๖ ราย และพบผู้ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายทั้งหมด ๑,๑๒๕ ราย จากข้อมูลของสถานีอนามัยบ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ พบว่า ในปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕9 มีผู้ที่เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย จำนวน ๑ ราย คิดเป็น ๑๑.๑๗ ต่อแสนประชากร ซึ่งมากว่าดัชนีชี้วัดความสำเร็จของกรมสุขภาพจิตที่กำหนดไว้ไม่เกิน ๖.๓ ต่อแสนประชากร
ดังนั้นทางสถานีอนามัยบ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎาจังหวัดตรังจึงได้เห็นความสำคัญของการควบคุมภาวะโรคซึมเศร้า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพจิตของประชาชน และลดอัตราการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในพื้นที่สถานีอนามัยบ้านคลองมวน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชน๑๕ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า

เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน ๖.๓ ต่อแสนประชากร

2 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการคัดกรองได้รับการส่งต่อทุกราย

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑.จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ ๒.ดำเนินกิจกรรมโดย อสม. และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ดังนี้
๒.๑ คัดกรองภาวะซึมเศร้าแก่ประชาชนอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่รับผิดชอบบ้านคลองมวน ตำบลหนองปรือ ทุกราย โดยอสม.ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตามแบบคัดกรองของกรมสุขภาพจิต โดยใช้ ๒Qและแบบประเมินความเครียด (ST5 ) ๒.๒ ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการคัดกรองทุกราย ๒.๓ คัดกรองภาวะซึมเศร้าแก่กลุ่มเสี่ยงจากการส่งต่อโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตามแบบคัดกรองของกรมสุขภาพจิต โดยใช้ ๙Q ๒.๔ คัดกรองการฆ่าตัวตายแก่กลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรอง ๙Qโดยใช้แบบคัดกรอง ๘Q ๒.๕ ส่งต่อผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากการคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกราย ๒.๖ มีการติดตามกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการส่งต่อทุก ๑ เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชนที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปทุกคนได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้า และได้รับการส่งต่อหากพบสิ่งผิดปกติทุกราย ๒.ผู้ที่ได้รับการส่งต่อต้องได้รับการติดตามทุก ๑ เดือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 14:35 น.