กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีและแกนนำหมู่บ้านด้านมะเร็งปี ๒๕๖๐
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.จะแนะ
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 กรกฎาคม 2560 - 12 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 54,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสามีเราะห์ มะรือโบอุมา
พี่เลี้ยงโครงการ นางบากอรีวาแม็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.077,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 220 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพโดยรวมของประชาชนไทย จากการเปลี่ยนแปลงตามวัยและสภาพแวดล้อมสตรีไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันและการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงและลดภาวะเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ซึ่งมีอัตราการเกิดโรคสูงเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง และพบได้มากในสตรีช่วงวัยเจริญพันธุ์จากรายงานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จากหนังสือแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ.๒๕๕๖–พ.ศ.๒๕๖๐ )พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกปีละเท่ากับ ๒๐.๙ ต่อประชากรสตรี หนึ่งแสนคนต่อปี ในแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ ๕,๒๐๐ คนหรือประมาณร้อยละ ๒๗ และมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเฉลี่ยวันละ๑๔ คน พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมละเท่ากับ๑๖.๓ ต่อประชากรสตรี หนึ่งแสนคนต่อปี พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มากเป็นลำดับที่ ๔ หรือพบผู้ป่วยรายใหม่ ๑๑,๔๙๖ราย/ปี อัตราการเสียชีวิต ๖,๘๔๕ราย/ปี จากคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจังหวัดนราธิวาสพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๒๘๗ คน พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน ๓๔๙คน ในตำบลจะแนะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจำนวน ๒ คน ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน ๒ คน ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๒ คน ดังนั้นการที่จะทำให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและใส่ใจกับสุขภาพของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกเป็นภาระ จะต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบเพื่อสอนให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ทำให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ด้วยการพัฒนาคนด้านสุขภาพโดยเฉพาะ แกนนำสตรี ซึ่งเป็นแบบอย่างการดูแลสุขภาพตนเองของชาวบ้าน จัดกระบวนการเรียนรู้และฝึกทักษะด้านสุขภาพให้ แกนนำสตรี มีศักยภาพที่จะดูแลและถ่ายทอดความรู้ไปยังครัวเรือนที่รับผิดชอบ ตลอดจนสร้างกระแสให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีคุณภาพและสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทได้ดียิ่งขึ้น จากผลการดำเนินงานมะเร็งปี ๒๕๕๙ พบว่าเครือข่ายแกนนำสตรียังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร แกนนำสตรีที่เป็นกลุ่มเป้าหมายยังตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่ครอบคลุมทุกคน สตรีอายุ๓๐-๖๐ปีมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ๑๓.๗๐ ซึ่งยังไม่ถึงร้อยละ๒๐ เนื่องจากบางคนยังไม่ตระหนักเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มีทัศนคติที่ไม่ดี เช่น กลัว อาย กลัวว่าตรวจแล้วจะพบความผิดปกติ สตรีอายุ๓๐-๗๐ปี บางคนยังตรวจเต้านมด้วยตนเองไม่ถูกวิธี ตรวจไม่ต่อเนื่อง แกนนำสตรีมีการติดตาม ประเมินการตรวจเต้านมด้วยตนเองของกลุ่มเป้าหมายยังไม่ต่อเนื่อง สำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ๕๐ ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่จำนวน ๕รายพบผล Positive ๒ ครั้งในจำนวน ๓ ครั้ง จำนวน ๔ รายซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่ปฏิเสธการส่องกล้องทั้ง ๔ รายดังนั้นกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนจึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำสตรีด้านมะเร็งปี ๒๕๖๐เพื่อให้แกนนำสตรี มีการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ให้เกิดการพัฒนาและการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการดูแลจัดการด้านสุขภาพ เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาด้านอื่น ๆ การรวมพลังกับแกนนำสุขภาพอื่น ๆ ในการสร้างสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑.แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ ๓๐-๖๐ปีได้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๒๐

 

2 ๒.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๙๐

 

3 ๓. แกนนำสตรีมีศักยภาพในการให้คำแนะนำและเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

 

4 ๔.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักเรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

 

5 ๕.เพื่อให้แกนนำสตรี มีศักยภาพในการให้คำแนะนำและเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

 

6 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

 

7 เพื่อค้นหาความผิดปกติก่อนระยะเป็นมะเร็ง

 

8 กิจกรรมที่ ๒ พัฒนาศักยภาพด้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๑.เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำหมู่บ้านให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

9 .เพื่อส่งเสริมและพัฒนาบทบาทแกนนำหมู่บ้านให้เป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างในการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

10 เพื่อให้แกนนำหมู่บ้าน มีทักษะในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

11 เพื่อสร้างเครือข่ายแกนนำในการค้นหา จูงใจกลุ่มเป้าหมายในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 54,400.00 0 0.00
อบรม 0 7,400.00 -
อบรมให้ความรู้ 0 47,000.00 -

กิจกรรมที่๑ พัฒนาศักยภาพด้านมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒. ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและมีเดินหนังสือในชุมชนล่วงหน้า๒อาทิตย์ก่อนดำเนินโครงการ ๓. แจ้งแผนการดำเนินงานและกำหนดการให้แกนนำสตรี รับทราบ ๔. จัดทำสื่อการสอนเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๕. เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือการตรวจมะเร็งปากมดลูกเพื่อเป็นสื่อการสอน ๖. ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมอธิบายพยาธิสภาพ แนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๗.นำเสนอภาพโรคมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้ายเพื่อเพิ่มความตระหนัก ๘.กิจกรรมซักถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ๙.ประเมินผลการดำเนินงาน


กิจกรรมที่ ๒พัฒนาศักยภาพด้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๑. จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ฝ่ายเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ๒. ทำหนังสือเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการและมีการเดินหนังสือในชุมชนล่วงหน้า๒อาทิตย์ก่อนดำเนินโครงการ ๔. แจ้งแผนการดำเนินงานและกำหนดการให้แกนนำสตรี รับทราบ ๕. จัดทำสื่อการสอนเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่
๖ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และแนวทางการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๗. จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้พร้อม ๘. ดำเนินการแผนงานกิจกรรมตามโครงการ ๙.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กิจกรรมที่๑ พัฒนาศักยภาพด้านมะเร็งปากมดลูก ๑.แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ ๓๐-๖๐ปีได้การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๒๐
๒.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกร้อยละ๙๐ ๓.แกนนำสตรีมีศักยภาพในการให้คำแนะนำและเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ๔. สามารถค้นหาความผิดปกติก่อนระยะเป็นมะเร็งร้อยละ๗๐ ๕.แกนนำสตรีและกลุ่มเป้าหมายสตรี อายุ ๓๐-๖๐ปีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ๙๐


๖.แกนนำสตรีสามารถเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างในการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ๗.แกนนำสตรีมีศักยภาพและทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีและสามารถสอนกลุ่มเป้าหมายสตรีในเขตครัวเรือนที่รับผิดชอบได้ร้อยละ๙๕ ๘. สามารถค้นหาความผิดปกติของก้อนที่เต้านมก่อนระยะเป็นมะเร็งร้อยละ๗๐ กิจกรรมที่๑ พัฒนาศักยภาพด้านมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๑.แกนนำชุมชนและผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ ๙๕ ๒.แกนนำหมู่บ้านสามารถเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างในการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ๓.แกนนำหมู่บ้าน มีทักษะในการเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ ๗๐

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 17:34 น.