กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงสูงและกลุ่มป่วย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางไซน๊ะหนิแว
วันที่อนุมัติ 5 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 พฤษภาคม 2560 - 29 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 65,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางไซน๊ะหนิแว
พี่เลี้ยงโครงการ นางนิมลต์หะยีมะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.077,101.693place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (65,400.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนมากขึ้นโดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็งและโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคไม่ติต่อเรื้อรังที่สำคัญที่เป็นภัยคร่าชีวิตประชากรทั่วโลกถึงร้อยละ ๘๕ ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด จากรายงานทั่วโลกพบว่ามีผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึงกว่า ๑,๐๐๐ล้านคน โดย ๒ ใน ๓เป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาและคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. ๒๕๖๘ ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลกจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง ๑.๕๖ พันล้านคน และพบผู้ป่วยเบาหวานปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๖๖ ล้านคน หรือประมาณร้อยละ ๘.๓ ของประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานถึง ๔.๖ ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ๕๕๒ ล้านคนในปีพ.ศ.๒๕๗๓ สำหรับประเทศไทยพบว่า อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานได้เพิ่มข้นจาก ๒๗๗.๗ ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็น ๙๕๔.๒ต่อแสนประชากรในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ หรือเพิ่มขึ้น ประมาณ ๓.๔ เท่า จากข้อมูลสถิติในเขตอำเภอจะแนะ ปี ๒๕๕๙ พบว่ามีผู้ป่วยเบาหวานรายเก่าทั้งหมดจำนวน ๖๑๕ คน รายใหม่ ๔๘ คน และมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายเก่าทั้งหมด ๒,๔๔๔ คน รายใหม่ ๑๙๑ คน พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน ๘๐๖ คน กลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง ๒,๙๗๒ คน และพบผู้ที่มีค่า BMI เกินมาตรฐาน ๗,๕๑๙ คน รอบเอวเกินมาตรฐาน ๑,๖๒๐ คนและสถิติในเขตตำบลจะแนะมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ๘๙๓ คน สามารถควบคุมได้ ๒๐ % และมีผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน ๒๒๑ คน ควบคุมโรคได้ ๒.๗ % จากข้อมูลหากประชาชนไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ดีขึ้นจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอนาคตเพิ่มมากขึ้นการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาวะที่ดีตามบริบทสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง

 

2 เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ๓อ.๒ส. ได้ถูกต้อง

 

3 ๓. เพื่อให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นต้นแบบและแกนนำให้บุคคลอื่นได้

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 65,400.00 0 0.00
อบรมให้ความรู้ 0 33,200.00 -
อบรมให้ความรู้ 0 32,200.00 -

๑. ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯ ๒.เสนอโครงการเพื่อให้ประธานอนุมัติ ๓.ประสานวิทยากรและสถานที่ฝึกอบรม ๔.จัดกิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๕.ประเมินผลโครงการ ดังนี้ ๑.ระดับความรู้ของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่องการดูแลสุขภาพด้านการออกกำลังกาย และการบริโภคอาหาร ก่อนและหลังอบรมเกณฑ์ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น ๒.พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้เข้าอบรมประเมินจากแบบสอบถาม เรื่อง พฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการการออกกำลังกายเกณฑ์ร้อยละ 80 มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องติดตาม หลังการอบรม 6 เดือน ๓.ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง ๒. ประชากรกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ๓. ประชากรกลุ่มป่วยและกลุ่มเสี่ยง สามารถเป็นแกนนำให้กับบุคคลอื่นในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2560 18:24 น.